หลายคนคงตั้งโจทย์ว่า
“อยากทำธุรกิจส่วนตัว อะไรก็ได้ให้รวย”
โดยเริ่มจากดูว่าเขาทำอะไรกันบ้าง
แล้วก็อาจจบลงด้วยการทำตามอย่างเขา เช่น
เห็นเขามีธุรกิจร้อยล้าน ก็ทำบ้าง
เห็นเขาเปิดร้านขายกาแฟ อยากขายบ้าง น่าจะชิว ๆ สโลว์ไลฟ์
เห็นเขาทำฟู้ดทรัก (Food Truck) ก็ทำบ้าง ได้เดินทางขับรถเที่ยวไปด้วย
เห็นเขารวยจากการซื้อคอนโดแล้วปล่อยเช่า ก็เอาบ้าง อยากรวยด้วยอสังหาฯ
เห็นเขาสร้างอพาร์ทเม้นให้เช่า ก็สร้างบ้าง อยากเป็นเสือนอนกิน
เห็นเขาเล่นหุ้นรวย ก็เอาบ้าง อยากเป็นนักลงทุนหุ้นพันล้าน
แต่ก็มีส่วนใหญ่
เมื่อทำตาม แต่กลับทำไม่สำเร็จเหมือนเขา หนำซ้ำยังเจ็บตัวหนักจากธุรกิจ
เสียเงินเสียเวลาไปมากมาย
เพราะอะไร
ทำไมวิธีเริ่มต้นคิดจากแนวนี้อาจไม่ใช่จุดเริ่มต้นที่ถูกต้อง แล้วแนวทางอื่นที่ควรจะเป็นคืออะไร
?
ก่อนอื่น
อย่าเอาคำว่าเห็นเขาเป็น “นักธุรกิจร้อยล้าน” “นักธุรกิจพันล้าน” อยากทำธุรกิจเลียนแบบบ้าง เป็นตัวตั้ง
เพราะยอดขายร้อยล้าน
อาจมีหนี้อีกสองร้อยล้าน ก็เป็นได้ อันนี้เขาไม่ได้บอก
ผมเคยเห็นบัญชีของธุรกิจร้อยล้าน
แต่มีหนี้สามร้อยล้านมาแล้ว
คุณคงเคยได้ข่าวคนขับรถหรู
อยู่บ้านแพง ฆ่าตัวตาย เพราะธุรกิจล้ม อยู่บ่อย ๆ
ตอนเปิดตัวเขาโฆษณาล่วงหน้าหลายสื่อให้คนรู้
แต่ตอนเจ๊ง เขาไม่ได้บอกให้เราทราบล่วงหน้า รู้อีกที หนี้บักโกรก
ช่วงนี้คงได้ข่าวสายการบินหลายแห่งในต่างประเทศ
เข้าโครงการล้มละลาย ตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้แยกธุรกิจขายใช้หนี้
ถ้าย้อนไปในปีก่อน
ใครทำธุรกิจการบิน จะบอกว่าเป็นธุรกิจ “หมื่นล้าน” ก็ว่าได้
ดังนั้น มูลค่ายอดขาย
“ไม่”สามารถบอกได้เบ็ดเสร็จว่า
ธุรกิจนั้นดีหรือไม่ดี
เพราะนักธุรกิจหลายคน อาจเป็นนักหมุนเงิน รับซ้ายจ่ายขวา ธรรมดาก็ได้ ทำไปทำมา ทำได้แค่หาเงินใช้หนี้ธนาคาร ก็เป็นได้ (มีแบบนี้เยอะซะด้วย)
การดูธุรกิจก็ไม่ใช่ดูที่เจ้าของแต่งตัวหรู
ขับรถหรู อยู่บ้านใหญ่ ถ้ารวยมีเงินสดเยอะจริงก็ดี แต่จะรู้ได้ไง
ดูธุรกิจควรต้องดูที่
“กำไรสุทธิ”
ของธุรกิจ ครับ ว่าสุดท้ายทำกำไรเท่าไหร่ในแต่ละปี และ สม่ำเสมอไหม
ยังต้องดูที่
กำไรต่อยอดขาย กำไรต่อเงินลงทุน จำนวนเงินลงทุน กระแสเงินสด และ อื่น ๆ หลายประการครับ
ถ้าธุรกิจ
ของ นาย ก. มียอดขาย
100 ล้าน มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 99 ล้าน
เหลือกำไรปีละ 1 ล้าน หมุนเงินใช้หนี้ธนาคารกันหัวหมุน
กับอีกธุรกิจ
ของ นาย ข. ยอดขาย
10 ล้าน มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 6 ล้าน
เหลือกำไรปีละ 4 ล้าน ไม่มีหนี้สิน เงินสดล้วน ๆ
ถามว่า
คุณอยากมีธุรกิจร้อยล้านแบบ นาย ก. หรือ เป็นคนธรรมดามีธุรกิจเล็ก ๆ แบบ นาย ข.
ไม่ต้องเฉลย ก็คงรู้คำตอบ
เมื่อก่อนหลายคนอิจฉาเจ้าของ
ธุรกิจโรงแรม ดูเท่ห์มาก
วันนี้คุณคงเห็นประกาศขายโรงแรม กันให้เกลื่อนเมือง
วันนี้คุณคงเห็นประกาศขายโรงแรม กันให้เกลื่อนเมือง
หลายคนอาจนึกเถียงในใจว่า
“ที่เขาทำแล้วรวยจริง ๆ ก็มี”
คำตอบคือ
“ใช่ครับ มีจริง มีเยอะด้วย”
แต่ต้องถามต่อว่า
“คุณทำแบบเดียวกับเขาได้หรือไม่ ?”
ถ้าไม่ได้ ก็ไม่ใช่ธุรกิจที่เหมาะกับคุณ
ถ้าไม่ได้ ก็ไม่ใช่ธุรกิจที่เหมาะกับคุณ
* ทุนเงิน
ทุนความรู้ ทุนประสบการณ์ ทุนความกล้า ทุนความมุ่งมั่น ทุนความขยัน ทุนความอดทน ทุนความพยายาม ทุนคอนเน็คชั่น ทุนสุขภาพ ของคุณมีเท่าเขาหรือไม่ ?
ทั้งหมด
ล้วนเป็นตัวแปลว่า คุณจะทำธุรกิจได้ประสบความสำเร็จ หรือไม่
และ
ที่สำคัญกว่าคือ ทำแล้ว คุณ “มีความสุขใจ ที่ได้ทำ” หรือไม่
ผมจึงอยากเสนอ
แนวทางเบื้องต้นในการเลือกธุรกิจให้เหมาะกับตัวคุณ โดยคุณควรพิจารณาจาก
1. พื้นฐานความรู้ ประสบการณ์ ฐานเงินทุน อุปนิสัยส่วนตัว ที่น่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจ
ของคุณมีอะไรบ้าง
2. ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า ธุรกิจที่คุณสนใจซึ่งอาจเริ่มจากหลายตัวเลือกนั้น
มีธุรกิจใดที่สอดคล้องกับข้อแรกบ้าง
3. ตลาดหรือผู้ที่น่าจะเป็นลูกค้าได้นั้น น่าจะเป็นกลุ่มใดบ้าง
มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือไม่ อาจต้องทำวิจัยตลาดเพิ่ม
4. คู่แข่งในธุรกิจนั้น ๆ มีมากน้อยเพียงใด
แล้วเขาทำธุรกิจกันอย่างไร มีกำไรมากน้อยเพียงใด ต้องไปสำรวจคู่แข่ง
5. ความเสี่ยงในธุรกิจนั้น ๆ มีอะไรบ้าง และ
จะหาทางป้องกันความเสี่ยงล่วงหน้าอย่างไรได้บ้าง
6. อนาคตของธุรกิจนั้น ๆ
มีแนวโน้มเป็นอย่างไร มีธุรกิจอะไรจะมาแทนที่ธุรกิจนั้น ๆ ในอนาคตหรือไม่ อย่างไร
7. สุดท้าย คือ คุณยินดีที่จะทุ่มเท กำลังเงิน กำลังกาย กำลังใจ ความมุ่งมั่น
ความขยัน ความอดทน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้น ๆ ประสบความสำเร็จหรือไม่ และ แน่ใจไหมว่า
เมื่อทุ่มเททุกอย่างแล้ว จะไม่นึกเสียใจภายหลัง ไม่ว่ามันจะสำเร็จหรือไม่ก็ตาม
ถ้าพิจารณาอย่างรอบคอบทุกข้อแล้ว ก็ “ลุย” แล้วไปทยอยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอา
ไม่มีทางที่คุณจะคาดการณ์ได้ทุกเรื่องเป็นการล่วงหน้า
และ มีหลายกรณีที่อาจจะคิดวิเคราะห์ผิดมาแต่แรก
แต่ก็อย่าหยุดยั้ง พยายามให้ถึงขีดสุด
เมื่อสุดแล้ว ก็ยังต้องขยายศักยภาพของตนให้สูงยิ่งขึ้น
จนกว่าจะประสบความสำเร็จสมดังหวังตั้งใจ
ไม่มีทางที่คุณจะคาดการณ์ได้ทุกเรื่องเป็นการล่วงหน้า
และ มีหลายกรณีที่อาจจะคิดวิเคราะห์ผิดมาแต่แรก
แต่ก็อย่าหยุดยั้ง พยายามให้ถึงขีดสุด
เมื่อสุดแล้ว ก็ยังต้องขยายศักยภาพของตนให้สูงยิ่งขึ้น
จนกว่าจะประสบความสำเร็จสมดังหวังตั้งใจ
ด้วยความปรารถนาดี …
จาก วศ.ทค.มงคล ตันติสุขุมาล
(วิทยากร ทนายความ ที่ปรึกษาธุรกิจ และ กฎหมาย) โทร 0817168711
www.TrainingThai.info
www.fb.com/LawyerMongkol
#ทนายมงคล #LawyerMongkol #AttorneyMongkol
*** ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ โปรดแชร์ต่อ ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น