แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า กว่าจะเป็น ..กว่าจะถึงซึ่งความสำเร็จในวันนี้ มีที่มาอย่างไร
แท้จริงแล้ว “เซเว่นอีเลฟเว่น” เป็นธุรกิจแฟรนไชส์สัญชาติอเมริกัน ซึ่งเริ่มต้นธุรกิจในเมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2470 ในชื่อ บริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์(เซาแลนด์ คอร์ปอเรชั่น) ก่อนหน้าที่จะดำเนินธุรกิจค้าปลีก บริษัทแห่งนี้เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆที่จำหน่ายน้ำแข็งในพ.ศ.2470 ก่อนที่จะขยายกิจการโดยนำสินค้าอุปโภคบริโภค ประเภท นม ขนมปังและไข่ เข้ามาจำหน่ายในร้านด้วย โดยเปลี่ยนชื่อร้านเป็น โทเท็ม สโตร์ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานยักษ์ใหญ่แห่งวงการค้าปลีกอย่างแท้จริง
เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตของผู้คนในทุกพื้นที่ทั่วโลกจาก โทเท็ม สโตร์ ในปี2489 ร้านจำหน่ายของอุปโภคบริโภคแห่งนี้ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น เซเว่นอีเลฟเว่น เป็น เซเว่นอีเฟลเว่นเดียวกับที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันในปัจจุบัน อะไรเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อร้าน
“จริงๆแล้วเซเว่นอีเลฟเว่นสื่อความหมายถึงเวลาปิดเปิดในขณะนั้น ที่สื่อความหมายถึงเวลาปิด-เปิด คือ 7.00am-11.00pmทุกวันตลอดสัปดาห์ และจนกลายเป็นที่ติดปากและใช้มาจนปัจจุบันทั้งๆที่ร้านได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องและกลายเป็นร้านค้าที่เปิดให้บริการถึง24 ชั่วโมงต่อวันแต่ก็ยังคงใช้ชื่อนี้อยู่”
หากจะพูดถึงเอกลักษณ์และความเป็นตัวตนที่ทำให้ “เซเว่นอีเฟเว่น” ได้รับความนิยม ที่โดเด่นที่สุดน่าจะเป็นการเปิดให้24 ชั่วโมงที่ทำให้ ร้านสะดวกซื้อรายนี้ แตกต่างและโดดเด่นเหนือคู่แข่งอื่นๆในขณะนั้น และกลายเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่เหมือนๆกันทั้ง24,000สาขาทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์และความเฉพาะตัวของร้านสะดวกซื้อที่มีมาตรฐานทั้งในเรื่องสินค้า บริการและอาหาร ที่สอดคล้องและตรงตามความต้องการของวิถีชีวิตผู้บริโภค เช่นเดียวกับในไทยที่หลังจาก “เครือเจริญโภคภัณท์” ได้เริ่มต้นตำนานเซเว่นอีเลฟเว่นในประเทศไทย เป็นครั้งแรกในปี2532 เมื่อเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่นสาขาแรกของประเทศไทยบนถนนพัฒนพงศ์ กรุงเทพ เมื่อวันที่1 มิถุนายน2532 ภายหลังจากเซ็นสัญญาซื้อสิทธิประกอบกิจการค้าปลีกมาจากบริษัทเซาแลนด์คอร์เปอเรชั่นหรือ เซเว่นอิงค์ในปัจจุบัน
กว่า 17 ปี เซเว่นอีเลฟเว่นในไทยได้ขยายสาขาแบบก้าวกระโดดไปสู่ทั่วทุกชุมชนในประเทศไทย โดยมีรูปแบบการลงทุนทั้งในรูปแบบ บริษัทลงทุนเองและการขยายการลงทุนด้วย ระบบแฟรนไชส์โดยการลงทุนอย่างหลังบริษัทจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิดภายใต้ระบบการบริหารที่ทันสมัย
ด้วยความสำเร็จอาจจะทำให้คนจำนวนมากเข้าใจว่าการลงทุนในธุรกิจนี้ต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล แต่ในความเป็นจริงการลงทุนของ เซเว่นอีเฟเว่น นั้นใช่เงินลงทุนไม่มากนักเมื่อเทียบกับแฟรนไชส์แบรนด์ดังอื่นๆ
รูปแบบของแฟรนไชส์ที่ผู้สนใจสามารถลงทุนแบ่งออกเป็น TYPE B และTYPE C โดย TYPE B ใช้เงินลงทุนน้อยกว่า เพียง1.5ล้านบาทโดยเสียค่าสิทธิแรกเข้า ค่าดำเนินการโอนร้าน และค่าดำเนินการอื่นๆรวม 500,000บาท และเงินสดค้ำประกันซึ่งจะได้รับคืนพร้อมดอกเบี้ย จำนวน1 ล้านบาท และTYPE C ใช้เงินลงทุนรวม 2,400,000บาท ค่าสิทธิแรกเข้า ค่าสิทธิในการบริหารร้านและค่าดำเนินการอื่นๆรวม1.5ล้านบาทและเงินสดค้ำประกันอีก900,000บาท สำหรับผลตอบแทนนั้นจะแตกต่างกันตรงที่ ประเภทแรก แฟรนไชส์ซีจะได้
ผลตอบแทนจากการบริหารร้าน รายได้จากผลกำไรของงานในร้านและหากสามารถเพิ่มผลกำไรจากที่บริษัทเป้าที่บริษัทเคยทำไว้จะได้รับเงินพิเศษเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเภทที่2 จะได้รับผลตอบแทนจากกำไร ในสัดส่วนระหว่างแฟรนไชส์ซีกับบริษัทในสัดส่วน54%และ46% อย่างไรก็ตามความน่าสนใจของ “เซเว่นอีเลฟเว่น”ไม่ได้อยู่แต่เพียงการลงทุนที่ไม่สูงนัก ทิศทางการขยายงานและก้าวต่อไปยังน่าสนใจไม่แพ้กัน โดยมีความพยายามในการปรับและพัฒนารูปแบบร้านสะดวกซื้อในแบบฉบับเซ่เว่นฯ ให้สามารถสนองตอบไลฟสไตล์คนได้มากขึ้น โดยขยายพื้นที่รูปแบบร้านเดิมที่มีอยู่ออกไปทั้งในส่วนของร้านหนังสือ และเบเกอรี่
ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ปรากฎให้เห็นในหลายสาขามีร้านหนังสือ Book Smile ที่อยู่ติดกับร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งเป็นอีกธุรกิจ ที่สามารถต่อเชื่อมการลงทุนเข้าด้วยกันได้ นอกจากนี้แผนในอนาคตเตรียมต่อเชื่อมห้องที่ 3 สำหรับธุรกิจเบเกอรี่เต็มรูปแบบ หลังได้วางสินค้าชิมลางยอดขายในร้านสาขาสร้างรายได้อย่างดีมาแล้ว จากแนวทางการขยายธุรกิจดังกล่าว มาจากการสำรวจพฤติกรรม โดยเฉพาะคนเมือง พบว่าสินค้าที่เป็นที่ต้องการในร้านสะดวกซื้อคืออาหาร เบเกอรี่และหนังสือ และนี่เป็นกรณีศึกษาของธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อที่ใหญ่ที่สุดในห้วงเวลานี้และเชื่อเหลือเกินว่า เซเว่นอีเลฟเว่น ก็ยังจะคงความเป็นเบอร์หนึ่ง ที่ยังไร้คู่แข่งอยู่ต่อไปอีกนานแสนนาน
เงื่อนไขการลงทุนเปิดร้านเซเว่นอีเลฟเว่น
แฟรนไชส์ TYPE B
ส่วนที่ 1
- ค่าสิทธิแรกเข้า 350,000 บาท
- ค่าดำเนินการโอนร้าน 100,000 บาท
- ค่าดำเนินการอื่น ๆ 50,000 บาท
รวม 500,000 บาท
ส่วนที่ 2
- เงินสดค้ำประกัน 1,000,000 บาท
ได้รับคืนพร้อมดอกเบี้ย (ตามอัจราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ณ วันที่ 1 ม.ค. ทุกปี)
รวมเงินลงทุน 1,500,000 บาท
แฟรนไชส์ TYPE C
ส่วนที่ 1
- ค่าสิทธิแรกเข้า 500,000 บาท
- ค่าดำเนินการโอนร้าน 900,000 บาท
- ค่าดำเนินการอื่น ๆ 100,000 บาท
รวม 1,500,000 บาท
ส่วนที่ 2
- เงินสดค้ำประกัน 900,000 บาท
ได้รับคืนพร้อมดอกเบี้ย (ตามอัจราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ จำกัด ณ วันที่ 1 ม.ค. ทุกปี)
รวมเงินลงทุน 2,400,000 บาท
อ้างอิงจาก: Franchise Vision เรื่องโดย: กองบรรณาธิการ