วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิทยากรเรื่องการเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์

วิทยากร เรื่อง

การเจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์
(Winning Negotiation Strategies)

วิทยากรโดย มงคล ตันติสุขุมาล
จัดโดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
ที่ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค
9 ธันวาคม 2559





วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การหาวิทยากรเพื่อการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ

ข้อแนะนำในการหาวิทยากร


โดย มงคล ตันติสุขุมาล

  บริษัท หรือองค์กร หลายแห่งมีความต้องการวิทยากรเพื่อไปให้ความรู้แก่พนักงานของตนเองเป็นประจำทุกๆปี ปีละหลายครั้ง หรือ ต้องการพัฒนาบุคลากรเฉพาะกิจเป็นครั้งๆไป ซึ่งปัญหาในการจัดหาวิทยากรที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องน่าสนใจ และอาจเป็นปัญหาของฝ่ายฝึกอบรมหรือฝ่ายบุคคลอยู่มาก จึงอยากให้คำแนะนำผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

   1. วิทยากรมีหลายประเภท การหาวิทยากรที่เหมาะสมนั้น วิทยากรควรมีความรู้ในเรื่องที่จะให้ไปบรรยาย หรือ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ซึ่งท่านสามารถดูได้จากวุฒิการศึกษา และ ประสบการณ์การทำงาน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องรู้ลึกซึ้งหรือมีประสบการณ์ตรงเฉพาะทางนานนับสิบปีขึ้นไปนะครับ ต้องขึ้นอยู่กับผู้รับการอบรมด้วยว่า ต้องการให้ความรู้ระดับพื้นฐาน ระดับกลาง หรือระดับสูง เนื่องจากหากต้องการให้ความรู้เพียงระดับพื้นฐานแก่ผู้เข้าอบรม ก็ไม่จำเป็นที่ต้องใช้วิทยากรถึงกับระดับสูง เปรียบเสมือนไม่ต้องใช้ศาสตราจารย์นายแพทย์ไปสอนสุขศึกษาให้เด็กมัธยม เพราะหลายกรณีนอกจากผู้รับการฝึกอบรมจะฟังไม่รู้เรื่องแล้ว ค่าวิทยากรก็ยังแพงมากอีกต่างหาก เอาแต่พอเหมาะพอสมครับ

   2. ความสามารถในการสอน หรือการถ่ายทอด เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่า เพราะในการฝึกอบรมส่วนใหญ่มักเป็นความรู้ระดับพื้นฐาน หรือระดับกลาง อีกทั้งผู้รับการฝึกอบรมก็มาจากหลากหลายองค์กร หลายแผนก หลายระดับการศึกษา อีกทั้งเรียนต่างคณะกันมา การมารับการฝึกอบรมช่วงสั้นเพียง 1-3 วันนั้น คงไม่สามารถให้ความรู้เชิงลึกแก่บุคคลทุกระดับได้ในเวลาอันสั้น ดังนั้น ความสามารถในการถ่ายทอดของวิทยากร เพื่อให้คนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เข้าใจประเด็นสำคัญที่ต้องการอบรม เป็นสิ่งสำคัญกว่า วิทยากรที่มีประสบการณ์ในการสอนมานานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะสามารถสอนให้ผู้เรียนเข้าในเรื่องต่างๆได้ดีกว่า วิทยากรมือใหม่ แต่ทว่าท่านก็อาจดูจากผลการประเมินวิทยากรจากการฝึกอบรมอื่นๆที่ผ่านๆมาประกอบได้

  3. ประสบการณ์ในการทำงานและการสอน หากวิทยากรเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ยังไม่เคยประกอบธุรกิจ การเชิญไปบรรยายในเรื่องธุรกิจก็อาจได้ทฤษฎี และตัวอย่างตามตำรา มากว่าประสบการณ์ในการทำงานภาคเอกชนและภาคปฏิบัติ ดังนั้น หากเป็นเรื่องที่ต้องการประสบการณ์การทำงานมาถ่ายทอด วิทยากรที่มาจากผู้ที่ทำงานภาคเอกชนหรือภาคปฏิบัติมาก่อนจะมีความน่าสนใจกว่า แต่ผู้อยู่ในธุรกิจเอกชนบางรายอาจสอนไม่เก่งเพราะไม่เคยสอน จึงต้องดูความเหมาะสมเป็นกรณีไป  คือควรดูประสบการณ์ในการสอนด้วย

  4.  การติดต่อวิทยากร หากท่านค้นจากชื่อนามสกุลแล้วพบเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลล์ติดต่อโดยตรงได้ย่อมจะเป็นการดีเพราะสามารถสอบถามรายละเอียดและอธิบายความต้องการให้กับวิทยากรรับทราบโดยตรง เว้นแต่หาไม่ได้หรือวิทยากรมีสังกัดก็ต้องติดต่อผ่านบริษัทรับจัดฝึกอบรม วิทยากรหลายคนอาจมีงานประจำหรือมีคิวบรรยายแน่น จึงควรมีการติดต่อล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 เดือน ยกเว้นกรณีเร่งด่วนแต่ก็ไม่ควรน้อยกว่า 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากต้องมีเวลาให้วิทยากรจัดคิวงาน เตรียมตัว และเตรียมเนื้อหาที่จะบรรยายด้วย

  5.  การเดินทางในประเทศไทย ปัจจุบันค่อนข้างสะดวก มีสายการบินโลว์คอสมากมาย จึงไม่ต้องกังวลว่าวิทยากรต้องมาจากในจังหวัดเดียวกันหรืออยู่ใกล้สถานที่ฝึกอบรมเท่านั้น ขอเพียงแจ้งล่วงหน้าวิทยากรที่เป็นมืออาชีพจะไปถึงที่ตามนัดหมายได้เสมอครับ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่สุด  ผมเดินทางบรรยายในกรุงเทพฯและที่อื่นๆทั่วประเทศไทยเป็นประจำยืนยันได้ว่าอยู่ใกล้หรือไกลไม่ใช่ประเด็นหลักครับ

  6. ค่าบริการของวิทยากร มักขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างผู้จัด กับตัววิทยากรหรือกับบริษัทฝึกอบรม ซึ่งมักอยู่ในหลักหลายหมื่นบาทต่อวัน บางรายอาจคิดรวมค่าเดินทางและที่พักแบบเหมาจ่าย บางรายอาจคิดแยกกัน แต่ท่านผู้จัดอย่าคิดว่าแพงนะครับ เพราะการสอน 1 วัน ปกติวิทยากรต้องเตรียมค้นคว้าหาข้อมูล เรียบเรียง ล่วงหน้าหลายวัน ยิ่งหากเป็นหัวเรื่องใหม่บางเรื่องผมเคยใช้เวลาเตรียมตัวกว่า 1 เดือนเลยทีเดียว เพราะต้องหาตำราหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาอ่านทุกเล่มให้จบ สรุปประเด็นสำคัญและกิจกรรมสำหรับสอนให้ได้ใน 6 ชั่วโมง แล้วหาวิธีการถ่ายทอดให้คนฟังรู้เรื่องอย่างมีอรรถรส ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อนมาก แม้เป็นเรื่องที่เคยสอนหรือเคยมีประสบการณ์มาแล้ว ค่าประสบการณ์นับสิบปีก็มีมูลค่า และคุ้มค่าแน่นอน อีกทั้งวิทยากรหลายท่านยังบอกเคล็ดลับในเรื่องต่างๆที่สอนอย่างไม่ปิดบังอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นความรู้กึ่งสำเร็จรูป นำไปปรับใช้ได้เลย ดังนั้น อย่าเน้นของถูกครับ ให้เน้นของดี

  7. อย่าคิดว่าวิทยากรที่โด่งดังมีชื่อเสียงมากๆ จะต้องดีเสมอไป มีลูกค้าหลายรายเคยเล่าให้ผมฟังว่าเคยเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงมากๆ กลับเจอปัญหาวิทยากรมาสายเพราะคิวปรากฎตัวเยอะ สอนสั้นๆรีบจบเพราะต้องรีบไปงานอื่นต่อ หนำซ้ำยังพูดเหมือนเดิมๆที่เคยฟังในทีวีมาแล้ว ไม่ตรงกับเรื่องที่ต้องการให้มาสอน ไม่ได้เตรียมเนื้อหาที่เหมาะสมกับหัวข้อหรือผู้รับการฝึกอบรมเลย ทำให้เสียเงินค่าตัวจำนวนมากเกือบแสนบาทต่อครึ่งวันแต่ได้ไม่คุ้มเสีย  แบบนี้คงต้องคิดว่าจ้างดารามาปรากฎตัวก็แล้วกัน

  8. อย่าคิดว่าต้องมีกิจกรรมเยอะๆ ให้ผู้เข้าอบรมได้เล่นเกมส์เยอะๆจึงจะเป็นการอบรมที่ดี ผมบอกได้เลยว่าหากผู้จัดต้องการให้ผู้รับการอบรมได้เล่นเกมส์เยอะๆ วิทยากรจะทำงานสบายมาก เพราะไม่ต้องเตรียมเนื้อหาเยอะซึ่งเป็นส่วนที่บ่งบอกความรู้ที่ผู้รับการอบรมจะได้รับ ผมเคยพบว่าการอบรมบางที่ซึ่งผู้รับการอบรมทำแต่กิจกรรมและเล่นเกมส์ทั้งวัน หัวเราะสนุกสนาน แต่พอกลับไปทำงานไม่มีความรู้ใหม่ ไม่มีทัศนคติใหม่ที่นำไปใช้ในการทำงานให้ดีขึ้นได้เลย แล้วผู้บริหารจะบ่นว่า อบรมเยอะแยะ ไม่เห็นได้อะไร ทั้งความรู้ ทั้งทัศนคติของพนักงานเหมือนเดิม ก็จะไม่ให้เหมือนเดิมได้อย่างไร ในเมื่อผู้จัดฝึกอบรมคิดแต่อยากจะให้วิทยากรเล่นเกมส์อย่างเดียวจะได้สนุก ผลการประเมินจะได้ออกมาว่าอบรมแล้วสนุก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน แต่ก็อย่าเข้าใจสุดโต่งไปอีกทางว่างั้นก็สอนแต่วิชาการล้วนๆเหมือนในห้องเรียนมหาวิทยาลัยดีไหม นั่นก็ไม่ใช่วิธีการอบรมที่ดี การอบรมที่ดีควรมีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างเนื้อหาวิชาการและกิจกรรมหรือเกมส์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาดียิ่งขึ้น เช่น เนื้อหา 50% กิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา 50% เป็นต้น ไม่ใช่เกมส์อะไรก็ได้เล่นถ่วงเวลาไปเรื่อยเปื่อยซึ่งวิทยากรไม่ต้องมีความรู้วิชาการหรือประสบการณ์ก็มาจัดได้ จ้างนักกิจกรรมสันทนาการมาทำก็ได้ แต่ทว่ามีการอบรมบางประเภทที่เน้น Activity Base Learning คือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เองจากกิจกรรมโดยไม่มีการสอนทฤษฎีใดๆ ซึ่งหากต้องการอบรมด้วยวิธีนี้ การออกแบบกิจกรรมให้ได้เรียนรู้จะต้องใช้เวลาอบรมหลายวัน บางหลักสูตรอาจต้องใช้เวลาจากปกติ 2 วัน เป็น 5 วัน และต้องจ้างทีมสันทนาการอีกเป็นขโยง แทนที่จะจ้างเพียงวิทยากรคนเดียว ดังนั้น เรื่องนี้ จึงขึ้นกับวัตถุประสงค์ จำนวนวันที่มี และ งบประมาณที่มีครับ

    สรุปแล้ว การหาวิทยากรในหลักสูตรที่เหมาะสม คือ วิทยากรมีความรู้ มีประสบการณ์ เหมาะสมกับผู้รับการฝึกอบรม โดยดูจากการศึกษา การทำงาน แต่ที่สำคัญคือความสามารถในการสอนการถ่ายทอดความรู้ ในราคาที่เหมาะสมเชิงเปรียบเทียบ ส่วนการสอนก็มีทั้งวิชาการ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สอดคล้องกับเรื่องที่อบรม ที่สำคัญคือ รับผิดชอบต่องาน มีการเตรียมตัว มาตรงเวลา และ ตั้งใจทำงานครับ




 

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วิทยากรเรื่อง การเจรจาต่อรองทางธุรกิจเชิงลึก (Advanced Business Negotiation)

วิทยากรเรื่อง

การเจรจาต่อรองทางธุรกิจเชิงลึก
(Advanced Business Negotiation)

จัดโดย บริษัท ออลล์ เทรนนิ่ง จำกัด (CP All)
วิทยากร มงคล ตันติสุขุมาล
โทร 0817168711















วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วิทยากร เรื่อง เจรจาต่อรองแบบมีกลยุทธ์ โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

วิทยากรฝึกอบรมเรื่อง

เจรจาต่อรองแบบมีกลยุทธ์ 
(Wining Negotiation Strategies)

โดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
วิทยากร : มงคล ตันติสุขุมาล
โรงแรม เซ็นทารา เซ็นทรัลสเตชั่น กรุงเทพฯ
26 กุมภาพันธ์ 2559




วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประเมินผลจากผู้รับการอบรมเรื่อง เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ 28 มิ.ย.2559

ประเมินผลจากผู้รับการอบรมเรื่อง

เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์

วิทยากร: มงคล ตันติสุขุมาล
จัดโดย สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
วันที่ 28 มิ.ย.2559







วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิทยากรอบรม เรื่อง การใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)


วิทยากรอบรม เรื่อง

การใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM)
ศูนย์เชียงใหม่
8 มกราคม 2559









วิทยากร อบรม เรื่อง เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ (Winning Negotiation Strategies)

วิทยากร อบรม เรื่อง

เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ 
(Winning Negotiation Strategies)

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
9 ธันวาคม 2559



วิทยากร อบรม เรื่อง เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์ (Winning Negotiation Strategies)

วิทยากร เรื่อง

เจรจาต่อรองอย่างมีกลยุทธ์
(Winning Negotiation Strategies)

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
18 กันยายน 2558






วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ดูแลลูกอย่างไรให้เรียนได้เกรด 4.00 โดยลูกไม่เครียด

ดูแลลูกอย่างไรให้เรียนได้เกรด 4.00 โดยลูกไม่เครียด

(โดย อ.มงคล ตันติสุขุมาล)

ดูแลลูกอย่างไรให้เรียนได้เกรด 4.00


     พ่อแม่หลายคนที่มีลูก คงมีความกังวลในเรื่องผลการเรียนของลูกไม่มากก็น้อย ทุกคน จึงอยากจะเล่าวิธีการอันน่าจะเป็นประโยชน์ในการเลี้ยงลูกให้เรียนได้ผลการเรียนที่ดี ดังนี้

    1. สุขภาพสำคัญที่สุด ท่านต้องให้ลูกได้ทานอาหารที่ดี บำรุงร่างกาย และสมอง มีโปรตีน และวิตามิน เพียงพอ มีการออกกำลังกายตอนเย็นๆหลังกลับจากโรงเรียนด้วยจะดีมาก พ่อแม่อาจร่วมออกกำลังกายพร้อมกับลูกเพื่อความสนุกสนานและความสัมพันธ์ที่ดีด้วย ในบางครั้งเด็กกลับจากโรงเรียนตอนเย็นแล้วเพลียมากหลับไป ก็ให้พักบ้าง แต่อย่าหลับนานจนตอนกลางคืนนอนไม่หลับนะ

    2. การพักผ่อน ให้ได้นอนหลับเฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน ตื่นมาจะได้สดชื่นสมองแจ่มใสพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

    3. อาหารเช้าสำคัญมาก อย่าให้เด็กอดอาหาร หรือ ทานอาหารที่ไม่มีคุณภาพในมื้อเช้า ในกรณีที่เตรียมอาหารไม่ทัน อาหารเสริมก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ต้องเลือกที่มีคุณภาพสูง มีโปรตีน วิตามิน ครบถ้วน และอิ่มท้อง

    4. ให้ลูกตั้งใจเรียนในห้องเรียนให้ดีที่สุด หากตัวเล็กแต่นั่งหลัง หรือ โดนบัง มองเห็นกระดานไม่ชัด ต้องขอย้ายที่นั่งมาในตำแหน่งที่มองเห็นกระดานชัดเจน เพราะสมาธิเด็กสั้นกว่าผู้ใหญ่ เมื่อมองเห็นไม่ชัด ก็อาจเลิกสนใจดู หันไปคุยกับเพื่อนแทน

    5. ตรวจสอบสมุดงานที่ครูสั่งการบ้านมาทุกวัน โดยต้องให้ลูกทำการบ้านให้เสร็จก่อนจึงจะเล่นเกมส์หรือดูทีวีได้ อย่าให้เด็กจัดการเรื่องการบ้านเองโดยผู้ปกครองไม่ดูแล เพราะหากเด็กไม่ทำการบ้านจนติดนิสัย หรือ ทำแต่ผิดๆถูกๆเพราะไม่มีใครคอยสอน จะทำให้การสอบที่หลายวิชาครูมักเอาการบ้านมาออกสอบนั้นเด็กทำผิดซ้ำที่เดิม อาจใช้วิธีให้นำการบ้านส่งพ่อแม่ผู้ปกครองตรวจก่อนก็ได้ หากทำผิดจะได้สอนเดี๋ยวนั้นเลย ความจำจะสดใหม่กว่า

    6. เวลาสอนการบ้านลูก หากเขาทำผิดบ่อย เหม่อลอย ไม่ตั้งใจฟัง อย่าดุ อย่าโวยลูก ให้เข้าใจว่าเขายังเด็ก เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาของเด็ก จงใจเย็นๆค่อยๆสอน หากพ่อแม่คอยตวาด คอยดุ ต่อว่า จะทำให้ลูกรู้สึกทรมานกับการทำการบ้าน การเตรียมสอบ จนทำให้เครียดและเห็นว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย ไม่อยากเรียน
 
    7. ให้เด็กอ่านหนังสือที่ชอบ เพื่อให้รู้สึกว่าการอ่านคือความสุข ความสนุก ไม่เครียด ไม่น่าเบื่อหน่าย เช่น ให้ซื้อหนังสือการ์ตูน หรือ นิทานเรื่องที่ลูกชอบและลูกเลือกเองมาอ่านบ้าง จะทำให้เด็กรู้สึกรักหนังสือ รักการอ่าน ไม่จำเป็นต้องบังคับให้อ่านแต่หนังสือเรียน เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า การอ่านเป็นเรื่องเครียดและน่าเบื่อหน่าย

    8. วางกลยุทธ์การเรียนให้เป็น หากลูกเรียนอ่อนวิชาไหน หากคิดจะให้เรียนพิเศษก็ให้เรียนพิเศษเฉพาะวิชาที่เรียนอ่อนคะแนนแย่ ไม่ใช่เรียนพิเศษสะเปะสะปะ เรียนพิเศษจับฉ่ายสารพัดวิชา ทำให้เสียเวลาเรียนซ้ำสิ่งที่รู้ดีอยู่แล้ว เสียเงินเสียเวลา ขาดการพักผ่อน ขาดการออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพแย่เปล่าๆ แบ่งเวลาไปเรียนพิเศษด้านดนตรี หรือกีฬาบ้าง จะได้ร่างกายแข็งแรง จิตใจอ่อนโยน ครูที่เลือกให้ลูกไปเรียนด้วยก็สำคัญ ต้องแน่ใจว่ารู้จริงในวิชาที่สอน สอนเก่ง สอนสนุก เด็กจะได้ไม่เบื่อหน่ายการเรียนพิเศษ

    9. การเรียนคือการสะสมความรู้ตลอดเทอม ไม่ใช่เร่งอ่านเฉพาะช่วงก่อนสอบ 2-3 วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาอังกฤษ ต้องท่องศัพท์เป็นประจำทุกวันหรือวันเว้นวัน ส่วนคณิตศาสตร์ ต้องทำโจทย์เป็นประจำสม่ำเสมอจึงจะคล่อง การสะสมความรู้วันละเล็กละน้อยแต่ทุกๆวัน สำคัญที่สุด พ่อแม่ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษอาจพูดคุยกับลูกเป็นภาษาอังกฤษเมื่ออยู่ในบ้านเพื่อความสนุกสนานในครอบครัวและได้ความรู้ไปด้วยในตัว

   10. ช่วงใกล้สอบอย่าให้เด็กมัวเล่นเกมส์ไอแพท หรือ ดูทีวีมากเกินไป โดยอาจเอาไอแพทไปซ่อนไว้ก่อนก็ได้ สอบเสร็จแล้วค่อยนำออกมาให้เล่น

   11. ตั้งรางวัลอัดฉีดเป็นแรงกระตุ้นจูงใจ เช่น หากสอบย่อยได้เต็ม จะพาไปดูหนัง หรือ พาไปทานไอศกรีม หรือ ให้ซื้อหนังสือการ์ตูน 1 เล่ม หากผลสอบปลายภาคได้ 4.00 ปิดเทอมใหญ่จะพาไปเที่ยวที่ใดที่หนึ่งที่เด็กอยากไปและพ่อแม่จ่ายไหว เป็นต้น จะทำให้เด็กมีแรงกระตุ้นจากรางวัลด้วย พ่อแม่บางครอบครัวมักใช้วิธีการลงโทษเป็นวิธีที่ผมเห็นว่าเด็กจะกลัวสอบได้ไม่ดีแล้วจะถูกลงโทษ ทำให้เครียดและไม่มีความสุขกับการเรียน สู้เรียนและสอบให้ได้คะแนนสูงเพื่อชิงรางวัล น่าสนุกกว่าเยอะ

   12. สอนให้เด็กเตรียมตัวก่อนสอบทุกครั้ง ไม่ว่าจะสอบย่อยๆ ก็ไม่มองข้าม เพราะคะแนนเก็บสะสมจากการสอบย่อยคือส่วนสำคัญที่จะทำให้คะแนนรวมดีขึ้น ซึ่งปกติครูมักจะบอกว่าจะสอบย่อยเรื่องใดวันไหน ก็ให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ทำสำเนาโจทย์ในหนังสือเรียน หรือการบ้านให้ลูกทดลองทำอีกครั้งด้วยตนเอง โดยลบคำตอบในสำเนาด้วยน้ำยาลบคำผิด แล้วให้เด็กลองทำดูใหม่อีกครั้ง เป็นการทบทวน เพราะปกติครูส่วนใหญ่มักนำสิ่งที่สอน และการบ้านมาปรับเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย แล้วออกเป็นข้อสอบ

   13. สอนให้อ่านโจทย์ 2 รอบ ก่อนที่จะเริ่มทำตอบ ทุกครั้ง เพราะ หากอ่านโจทย์ผ่านๆอาจผิดพลาด ตกหล่น เข้าใจโจทย์ผิด ทำให้ตอบผิด

   14. คืนก่อนสอบกลางภาค และปลายภาค อย่านอนดึก เพราะการเตรียมตัวสอบต้องทำมาก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ใช่คืนสุดท้ายก่อนสอบ คืนก่อนสอบควรอ่านทบทวนเพียงผ่านๆ ทำใจให้สบาย นอนแต่หัวค่ำ พรุ่งนี้จะได้สดชื่น สมองแจ่มใส

   15. สอนลูกให้รู้เทคนิคการทำข้อสอบ เช่น ดูจำนวนหน้าข้อสอบว่ามีกี่ข้อ มีครบไหม อ่านโจทย์สองครั้ง ข้อไหนทำไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน ทำข้อที่ทำได้ให้เสร็จทุกข้อก่อน ค่อยวกกลับมากทำข้อที่คิดไม่ออก ในกรณีที่ต้องเดาคำตอบควรเดาอย่างมีหลักการอย่างไร เมื่อทำข้อสอบเสร็จเวลาเหลือ ให้ทบทวนคำตอบ หรือ สุ่มทบทวนหากเวลาที่เหลือมีน้อย และอย่าลืมตรวจดูชื่อนามสกุล เลขที่ บนหัวกระดาษคำตอบว่าเขียนแล้ว และถูกต้อง เป็นต้น

    หากทำได้ตามนี้ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดทั้งเทอม เชื่อได้ว่า โอกาสสอบได้เกรด 4.00 เกิดขึ้นได้แน่ ไม่ภาคเรียนนี้ ก็ภาคเรียนต่อๆไป ที่สำคัญคือเมื่อรู้วิธีการที่ดีแล้ว ให้ “ทำอย่างสม่ำเสมอ” ความแตกต่างของคนเรียนเก่งกับเรียนไม่เก่ง ก็อยู่ที่ “การเรียนอย่างถูกวิธี อย่างสม่ำเสมอ” นั่นเอง 

    แล้วท่านก็จะได้ชื่อว่าเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลลูกให้เรียนได้เกรด 4.00 โดยลูกไม่เครียด

(Facebook.com/MTrainingAndConsulting)
(www.TrainingThai.info)