เขียนโดย: มงคล ตันติสุขุมาล
ธุรกิจขนาดย่อมหลายธุรกิจ มักเริ่มต้นจากเจ้าของคนเดียว หรือ ไม่กี่คน การบริหารจัดการก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน คือ เจ้าของหรือหุ้นส่วนใหญ่ เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแลทุกอย่าง ตัดสินใจเองทุกเรื่อง เมื่อเวลาผ่านไปธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีเรื่องมากมายที่ต้องจัดการ ต้องตัดสินใจ ในขณะที่หลายเรื่อง เป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าความรู้ของเจ้าของกิจการ
เมื่อถึงเวลานี้ เจ้าของทุกคนมักคิดเรื่องการมองหา "ผู้ช่วยบริหาร" หรือ "ผู้จัดการ" มาช่วยบริหารกิจการ ด้วยหวังว่าจะได้ลดภาระการจัดการ และความวุ่นวายประจำวันลงไปได้ เมื่อคิดได้ดังนั้น ก็ทำการประกาศรับสมัคร หรือ เรียกหาจากคนรู้จักแนะนำมา เมื่อได้คนที่ต้องการก็รับเข้าทำงาน
เจ้าของกิจการเดิมมักจะมอบหมายหน้าที่ให้แก่ "ผู้จัดการ" ที่จ้างมา โดยหวังสูงว่าจะให้ผู้จัดการทำให้ทุกอย่างที่สั่ง แต่ เจ้าของธุรกิจยังต้องการจะ "ตัดสินใจ" เองในทุกเรื่อง เช่น การอนุมัติสั่งซื้อต้องให้เจ้าของเซ็นอนุมัตทุกเรื่อง การออกเช็คต้องเป็นเจ้าของเซ็นเท่านั้น การตัดสินใจในโครงการใดๆไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต้องให้เจ้าของเป็นคนตัดสินใจเท่านั้น ทำนองว่า ผู้จัดการ เสนอได้ แต่ห้ามตัดสินใจเอง
การบริหารพนักงานระดับปฏิบัติงานในบริษัท หากผู้จัดการ สั่งการใดๆออกไป เจ้าของกิจการก็มักไปเปลี่ยนแปลงคำสั่งหากไม่ถูกใจ อีกทั้งมักทำการสั่งงานข้ามหัวผู้จัดการอยู่เป็นประจำ เมื่อผู้จัดการลงโทษพนักงาน เจ้าของก็มักจะเป็นคนเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
ทำไปทำมา ผู้จัดการที่จ้างมา กลายเป็นเพียงลูกจ้างระดับปฏิบัติงานอีกคนหนึ่ง เท่านั้น ไม่มีหน้าที่ตัดสินใจใดๆ ไม่มีหน้าที่อนุมัติใดๆ หรือ จำกัดมากๆ เข้าทำนอง มอบหน้าที่ แต่ไม่มอบอำนาจ เนื่องด้วยเจ้าของยังคิดว่า ตนเองรู้ดีที่สุด ตัดสินใจเองได้ดีที่สุด ไม่มีใครรู้ดีกว่าตนเอง
ท้ายที่สุด ผู้จัดการที่จ้างมา ก็เป็นเสมือนหัวหลักหัวตอ ที่พนักงานก็ไม่รับฟังคำสั่ง เพราะเจ้าของมักสั่งข้ามหัว หรือ เปลี่ยนแปลงคำสั่งอยู่เสมอ ให้คุณให้โทษพนักงานระดับปฏิบัติงานไม่ได้ ในขณะเดียวกัน เจ้าของก็คิดว่า ผู้จัดการที่จ้างมา ทำงานไม่ได้ผลดังใจที่ตนเองคาดหวัง สุดท้าย ผู้จัดการ ที่จ้างมาไม่ว่าเขาจะเก่งเพียงไรก็อยู่ไม่ได้ ต้องลาออกไป
เมื่อเจ้าของจ้างผู้จัดการคนใหม่ ไม่ว่าจะให้เงินเดือนสูงเพียงใด แต่เจ้าของยังทำตัวแบบเดิม ผลลัพธ์ก็เป็นแบบเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
เรื่องราวข้างต้น ผมมักพบเป็นประจำในองค์กรขนาดเล็กที่เริ่มเติบโต แล้วก็ทำให้องค์กรดังกล่าวโตต่อไปไม่ได้ เพราะเต็มไปด้วยปัญหาที่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ต้องจัดการและต้องตัดสินเองทุกเรื่องจนเป็นนิสัย
ผมอยากแนะนำให้ เจ้าของกิจการ หรือ หุ้นใหญ่ ในธุรกิจขนาดเล็กที่เติบโต และกำลังจ้าง "ผู้จัดการ" ว่า ท่านควรทำดังต่อไปนี้ จึงจะให้การจ้างคนเก่ง มาได้ผลดี
1. เมื่อมอบ "หน้าที่" ให้ ต้องมอบ "อำนาจ" ในระดับที่เหมาะสมกับหน้าที่ไปคู่กันด้วย ได้แก่ อำนาจในการให้คุณให้โทษกับผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการท่านนั้นอย่างเต็มที่ ให้อำนาจในการตัดสินใจเรื่องการอนุมัติงบประมาณในระดับที่กำหนดไว้ เป็นต้น
2. การสั่งงานใดๆ ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้จัดการท่านนั้นๆ ให้เจ้าของสั่งงานผ่านผู้จัดการ โดยไม่สั่งงานข้ามหัว อันเป็นการรักษาระบบของสายการบังคับบัญชา
3. หากผู้จัดการสั่งงานใดๆออกไปยังฝ่ายปฏิบัติงาน หากเจ้าของกิจการไม่เห็นด้วย หรือ ต้องการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง ให้คุยกับผู้จัดการถึงเหตุผล ไม่ใช่สั่งเปลี่ยนเอง อันจะทำให้คำสั่งในสายการบังคับบัญชา (Chain of Command) ไม่ถูกทำลาย
4. กำหนดวงเงินงบประมาณให้ผู้จัดการสามารถอนุมัติได้โดยไม่ต้องรอเจ้าของอนุมัติ หากวงเงินเกินกำหนดให้ผู้จัดการอนุมัติก่อนแล้วส่งต่อเจ้าของอนุมัติอีกขั้นหนึ่ง หากพนักงานระดับปฏิบัติงาน ส่งเอกสารผ่านข้ามหัวผู้จัดการมายังเจ้าของโดยตรง ให้เจ้าของส่งเอกสารกลับไปให้ผ่านการอนุมัติของผู้จัดการก่อนตามลำดับขั้น ทำอย่างนี้ต่อไปพนักงานก็จะรู้ว่า ให้ผู้จัดการอนุมัติตามระเบียบขั้นตอน และเกิดการทำงานเป็นขั้นตอนเกิดขึ้น
5. การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติงาน ให้ผู้จัดการมีหน้าที่โดยตรงในการประเมิลผล ก่อนส่งต่อให้เจ้าของ ทำอย่างนี้พนักงานจึงจะยำเกรง และเชื่อฟังคำสั่งผู้จัดการ
คำแนะนำดังกล่าวข้างต้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องง่ายๆธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการหลายคน แต่ทางปฏิบัติ ผมกลับพบว่า เจ้าของกิจการยังผิดพลาดในเรื่องง่ายๆอย่างนี้อยู่เสนอ จึงแนะนำมาเพื่อต้องการเน้นย้ำด้วยหวังให้กิจการของท่านเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีกทั้ง จะได้ทำให้ผู้บริหารที่ท่านจ้างมาทำการแบ่งเบาภาระงานให้ท่านได้อย่างแท้จริง
วศ.ทค.มงคล ตันติสุขุมาล (วิทยากร/ทนายความ/วิศวกร/ผู้นำเที่ยว) วิทยากร 4 ปริญญา MBA,BBA,B.Eng.,LLB วิทยากรอบรม: การเจรจาต่อรอง,การพูดในที่ชุมชน,แผนธุรกิจ,การจัดการความขัดแย้ง,การตลาดดิจิทัล,การขาย,จิตภาษาNLP,การคิดบวก,กฎหมาย,ฯลฯ. บริการ: ร่างสัญญา,รับรองลายมือชื่อ,จดเครื่องหมายการค้า,ว่าความ,ฯลฯ. [Thai-English Speaking Lawyer]. Trainer: Negotiation,Public speaking, Business plan, Digital marketing, Law. Legal Services: Notary Public, Trademark Reg., Litigation. Tel.0817168711 LineOA=@zru5884r
วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554
บริการอื่นๆ เช่น ที่ปรึกษา รับเขียนบทความ ตรวจสอบบริการ ตรวจสอบอาคาร ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
M-Training and Consulting
ให้บริการด้านการฝึกอบรม สัมมนา พัฒนาบุคคล องค์กร และ ที่ปรึกษาธุรกิจ
อีกทั้งยังให้บริการด้านอื่นๆ ดังนี้
1. ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด การขาย และ การบริหารจัดการโดยใช้คอมพิวเตอร์ IT
2. จัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan)
3. ตัวแทนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ (Business Negotiator)
4. รับเขียนบทความด้านธุรกิจ ลงนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ เว็บบล็อค (Contents Provider)
5. ทนายความ (Attorney at Law) ร่างสัญญา ตรวจสอบสัญญา รับรองลายมือชื่อและเอกสาร ทำพินัยกรรม จดทะเบียนพาณิชย์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษาธุรกิจและการลงทุน
6. ตรวจสอบอาคาร ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร (Building Inspection) โดยวิศวกรรับอนุญาต
ให้บริการในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง กรุงเทพฯ
7. นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Agent)
ซื้อ ขาย เช่า บ้าน ที่ดิน คอนโดฯ อพาร์ทเม้น สำนักงาน ในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน กรุงเทพฯ
ให้บริการด้านการฝึกอบรม สัมมนา พัฒนาบุคคล องค์กร และ ที่ปรึกษาธุรกิจ
อีกทั้งยังให้บริการด้านอื่นๆ ดังนี้
1. ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด การขาย และ การบริหารจัดการโดยใช้คอมพิวเตอร์ IT
2. จัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan)
3. ตัวแทนการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ (Business Negotiator)
4. รับเขียนบทความด้านธุรกิจ ลงนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ เว็บบล็อค (Contents Provider)
5. ทนายความ (Attorney at Law) ร่างสัญญา ตรวจสอบสัญญา รับรองลายมือชื่อและเอกสาร ทำพินัยกรรม จดทะเบียนพาณิชย์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญา ที่ปรึกษาธุรกิจและการลงทุน
6. ตรวจสอบอาคาร ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร (Building Inspection) โดยวิศวกรรับอนุญาต
ให้บริการในพื้นที่จังหวัด เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง กรุงเทพฯ
7. นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Agent)
ซื้อ ขาย เช่า บ้าน ที่ดิน คอนโดฯ อพาร์ทเม้น สำนักงาน ในพื้นที่เชียงใหม่ ลำพูน กรุงเทพฯ
ติดต่อ(Contact): โทร(Tel.) 0817168711 email: mingbiz@gmail.com
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
กิจกรรม ฝึกอบรมวิทยากร (Train the Trainer) ของ สสว
รูปกิจกรรมการฝึกอบรมวิทยากร (Train the Trainer)
ของ สสว ( สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม)
วันที่ 1-2 กันยายน 2554
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
ฝึกอบรม กิจกรรมการสร้างทีม (Team Building Activities)
กิจกรรมการสร้างทีม
(Team Building Activities)
โดย มงคล ตันติสุขุมาล
การทำงานเป็นทีม เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดผลงานสูงกว่าการทำงานเพียงลำพังแบบทวีคูณ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคนในทีมจะต้องมีศิลปะของการทำงานเป็นทีม การทำงานจึงจะสอดประสานกันได้อย่างดีและราบรื่น จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้
บางคนทำงานคนเดียวเก่ง แต่ไม่สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ เมื่อต้องร่วมงานกับผู้อื่นก็ไม่รู้ว่าควรจะปฏิบัติตนอย่างไร ควรดูแลทีมงานอย่างไร ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายแก่ผู้อื่น โดยที่ตนเองก็อาจไม่รู้ข้อจำกัดนี้ของตนเอง ทำให้การทำงานร่วมกับผู้อื่นไม่ราบรื่น บางทีมงานมักมีปัญหาขัดแย้งกันเองอยู่เสมอ ไม่รู้หลักการทำงานร่วมกัน ส่งผลให้การงานติดขัด ไม่บรรลุผล ไม่มีความก้าวหน้าการการทำงาน
หลักสูตรการสร้างทีม (Team Building) จึงได้ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นทีมให้ดีขึ้น เรียนรู้หลักการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ ทัศนคติที่ถูกต้องในการทำงาน การสร้างทีม การจูงใจทีมงาน การทำงานเป็นทีม โดยเน้นการทำกิจกรรมร่วมกันของผู้เข้าร่วมฝึกอบรมในเรื่องการสร้างทีม เพื่อสร้างความมั่นใจในตนเองแก่หัวหน้างาน ผู้ร่วมทีมงาน ผู้ที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้ประสบความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและในชีวิตต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบหลักการของการทำงานเป็นทีมที่ดี
2. เพื่อฝึกฝนทักษะการทำงานเป็นทีมให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกิจกรรมการสร้างทีม
3. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับการอบรมในการทำงานเป็นทีม และนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงอย่างได้ผลดีเลิศ จนบรรลุเป้าหมายของทีมงาน
หัวข้อการฝึกอบรม:
1. ทัศนคติที่ถูกต้องในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
2. ความสำคัญของการสื่อสารภายในทีม
3. การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ
4. การร่วมมือกันทำงาน
5. ความไว้วางใจในทีม
6. การจูงใจทีมงาน
7. หลักการประชุมระดมสมองของทีมงาน
8. การอ่านภาษากาย
รูปแบบการสัมมนา การบรรยาย หลักการของการทำงานเป็นทีม และเน้นการฝึกปฏิบัติการทำงานเป็นทีม
วิทยากร
อาจารย์ มงคล ตันติสุขุมาล MBA, B.Eng., Cert.English
วิทยากรฝึกอบรม ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ได้รับรางวัลนักพูดดีเด่นจากสโมสรฝึกพูด
มีประสบการณ์ในการทำงานกับคนจำนวนมาก ในบริษัทมหาชน และ บริษัทเอกชน หลายแห่ง
ปัจจุบันเป็นวิทยากร และที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนหลายแห่ง
กำหนดเวลาวันแรก
เวลา
|
หัวข้อ
|
08.30 – 09.00
|
ลงทะเบียน
|
09.00 – 09.30
|
แนะนำวิทยากร
|
09.30 – 10.00
|
- ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม แนะนำตัว + กิจกรรมเพื่อความคุ้นเคยกัน
|
10.00 – 10.30
|
พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
|
10.30 – 12.00
|
- ทัศนคติที่ถูกต้องในการทำงานร่วมกับผู้อื่น + กิจกรรม การมองคนในแง่ดี
- ความสำคัญของการสื่อสารในทีม + กิจกรรม การสื่อสารในทีม
|
12.00 – 13.30
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.30 – 15.00
|
- การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ + กิจกรรม การสร้างทีมทีม
- การร่วมมือกันทำงาน + กิจกรรม การร่วมมือกันทำงาน
- ความไว้วางใจในทีม + กิจกรรม การไว้วางใจทีม
|
15.00 – 15.30
|
พักดื่มกาแฟ และทานของว่าง
|
15.30 – 16.30
|
- สรุปบทเรียนที่ได้รับจากกิจกรรม
|
กำหนดการณ์วันที่สอง
เวลา
|
หัวข้อ
|
08.30 – 09.00
|
ลงทะเบียน
|
09.00 – 09.30
|
การบริหารเตรียมความพร้อม
|
09.30 – 10.00
|
- การจูงใจทีมงาน + กิจกรรม การจูงใจทีมงาน
|
10.00 – 10.30
|
พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
|
10.30 – 12.00
|
- หลักการประชุมระดมสมองของทีมงาน + กิจกรรม ประชุมระดมสมอง
|
12.00 – 13.30
|
พักรับประทานอาหารกลางวัน
|
13.30 – 15.00
|
- การอ่านภาษากาย + กิจกรรม การอ่านภาษากาย
|
15.15 – 15.30
|
พักดื่มกาแฟ และทานของว่าง
|
15.30 – 16.00
|
- สรุป ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมและทำกิจกรรม
|
16.00 – 16.30
|
ประเมินผล และถ่ายภาพร่วมกัน
|
หมายเหตุ: กำหนดเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
ติดต่อ โทร 0817168711 email : mingbiz@gmail.com
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การประกอบธุรกิจด้วยแนวคิด CFCI (Choose, Focus, Continuous, Improvement)
แนวคิดในการประกอบธุรกิจ แบบ CFCI
(Choose-Focus-Continuous-Improvement)
(Choose-Focus-Continuous-Improvement)
ผู้เขียน : มงคล ตันติสุขุมาล
เนื้อหาในตอนนี้ผมต้องการเสนอแนวคิดในการประกอบธุรกิจแบบ CFCI ได้แก่
C : CHOOSE
การเลือกธุรกิจ สำหรับผู้ต้องการประกอบธุรกิจพึงระลึกไว้เสมอว่า เวลาในชีวิตของแต่ละคนนั้นมีจำกัด เงินทุนนั้นก็มีจำกัด ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนธุรกิจได้แบบไม่จำกัด ดังนั้น การเลือกธุรกิจที่ตนเองจะทำนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก จึงอยากแนะนำการเลือกธุรกิจไว้โดยหลักต่อไปนี้
1. love ใจรัก
สิ่งที่ควรทำประกอบการเลือกคือ ให้เขียนกิจกรรมที่ใจท่านรักที่จะทำทั้งหมดออกมาเท่าที่มี เช่น ชอบสังคม หรือ ชอบอยู่คนเดียว ชอบทำงานศิลปะ ชอบเรียนรู้เทคโนโลยี ชอบอ่าน ชอบเขียน ชอบสอน รักเด็ก ชอบตีก๊อฟ ชอบสังสรร ชอบทำอาหาร ชอบท่องเีที่ยว ฯลฯ เป็นต้น
จากนั้นก็ลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด เพื่อให้ความสำคัญกับการพิจารณากิจกรรมชอบมากที่สุดก่อน ที่ผมแนะนำอย่างนี้เนื่องจาก หากเป็นกิจกรรมที่ท่านชอบ ท่านจะทำอย่างมีความสุข แม้ว่าในช่วงเริ่มต้นมันอาจจะยังไม่สามารถทำเงินทำทองให้ท่านได้มากนักก็ตาม แต่ด้วยความรักความชอบจะทำให้ท่านไม่หยุดทำ ทำอย่างต่อเนื่อง ทักษะฝีีมีก็จะพัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ จนถึงจุดหนึ่งที่ดีเพียงพอที่จะทำเป็นธุรกิจที่มีจุดเด่นแตกต่างจากผู้อื่นได้ จนนำไปสู่การทำเงินให้ท่านได้ในที่สุด
แต่หากท่านเริ่มต้นจากการทำธุรกิจตามอย่างผู้อื่นโดยไม่ชอบ อยากทำบ้าง ไม่อยากทำบ้าง (ส่วนใหญ่มักไม่อยากทำสิ่งที่ตนเองไม่รัก) ทำให้ขาดความใส่ใจ ขาดความประณีต ขาดการพัฒนาทักษะ เมื่อพบปัญหาก็ยิ่งรู้สึกเบื่อหน่ายไ่ม่อยากใส่ใจ ทำให้ธุรกิจไปไปรอดในที่สุด
หลังจากเลือกกิจกรรมที่ชอบมาก่อนแล้ว ต้องคิดต่อว่ากิจกรรมนั้นๆ สามารถกลายเป็นธุรกิจอะไรได้บ้าง เช่น
ชอบทำอาหาร = ธุรกิจร้านอาหาร, เขียนตำราทำอาหาร, เป็นนักโภชนาการ,เป็นนักชิมอาหาร
ชอบตีก๊อฟ = นักก๊อฟอาชีพ, โปรสอนก๊อฟ, ร้านขายอุปกรณ์ก๊อฟ, ทำสนามก๊อฟ
ชอบเลี้ยงเด็ก = สถานรับเลี้ยงเด็ก, โรงเรียนสอนพิเศษเด็ก, นักกิจกรรมสำหรับเด็ก, ค่ายเยาวชน
2. Potential ศักยภาพ
สิ่งที่ควรพิจารณาต่อมาคือ
- ศักยภาพส่วนตัวว่า มีศักยภาพทางสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ การเงิน เพียงพอที่จะทำธุรกิจที่เกิดจากกิจกรรมที่ชอบหรือไม่ หากยังไม่พอจะได้ไปศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝนเพิ่มเติม หาผู้ร่วมหุ้น หาผู้เชี่ยวชาญมาช่วย เป็นต้น บางธุรกิจท่านมีใจรักมาก แต่ต้องลงทุนสูง หากท่านไม่มีศักยภาพทางการเงินที่มากพอก็ทำไม่ได้ จำเป็นต้องลดขนาดธุรกิจลง หรือ เลือกธุรกิจอื่นๆแทน
- ศักยภาพทางธุรกิจ ของธุรกิจที่เลือกก็สำคัญ โดยต้องพิจารณาว่า สิ่งที่เลือกนั้น มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากน้อยเพียงใด เพราะหากเป็นไปได้น้อย หรือ มีการแข่งขันสูง จะได้เลือกธุรกิจอื่นๆแทน แม้อาจจะชอบน้อยกว่า แต่มีศักยภาพทางธุรกิจสูง ก็น่าทำมากกว่า
3. Ability ความสามารถ
ในที่นี้หมายถึงความสามารถของตนเอง ของหุ้นส่วนธุรกิจ และ ทีมงาน การแปลงศักยภาพที่มีอยู่ให้ออกมาเป็นความสามารถในทางปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เช่น ท่านอาจมีศักยภาพในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้สูง ท่านก็ต้องแปลงศักยภาพให้เป็นความสามารถในการชงกาแฟแบบต่างๆ ในธุรกิจกาแฟ หรือ แปลงเป็นความสามารถในการสอน หากเป็นโรงเรียนกวดวิชา เป็นต้น
4. Study การศึกษาเรียนรู้
ถึงแม้ว่าท่านจะมีความสามารถเพียงพอที่จะเริ่มต้นธุรกิจที่ท่านเลือกได้ ท่านก็ยังต้องไปเรียนรู้เรื่องราวของธุรกิจนั้นๆอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เทคนิคเฉพาะ การตกแต่ง กลุ่มเป้าหมาย คู่แข่ง และ จุดเด่นจุดด้อยของตนเอง และของคู่แข่ง เป็นต้น
5. Rick ความเสี่ยง
ในการประกอบธุรกิจ ย่อมมีความเสี่ยง จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ มีคำกล่าวกันเสนอในวงการธุรกิจว่า "High Risk...High Return" หรือ "ความเสี่ยงสูง...ผลตอบแทนก็สูง" และแน่นอนว่า หากผิดพลาด "ความสูญเสีย ความเสียหาย" ก็สูงเช่นเดียวกัน
F : FOCUS
การจดจ่อ ใส่ใจ กับธุรกิจที่ได้เลือกไว้อย่างรอบคอบในข้อ Choose แล้ว ก็ต้องได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษในทุกรายละเอียดของการทำงาน
ผมเคยพบนักธุรกิจหลายราย ที่เมื่อเริ่มต้นธุรกิจก็อยากรีบสุขสบาย โดยการไม่ใส่ใจดูแลร้าน ปล่อยให้พนักงานดูกันเอง แน่นอนเปิดได้ไม่นานก็ขาดทุนมากมายจนต้องปิดไปในที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเจ้าของกิจการไม่ใส่ใจในการดูแลธุรกิจของตนเองนั่นเอง
ในการทำธุรกิจ เจ้าของกิจการต้องใส่ใจดูแลธุรกิจด้วยตนเองก่อน ไม่มีใครจะรักธุรกิจของคุณเท่าคุณเอง การใส่ใจนั้นประกอบด้วย
1. Plan การวางแผนธุรกิจ
ธุรกิจจำเป็นต้องมีการวางแผนธุรกิจ อันประกอบด้วย แผนการเงิน การจัดการภายใน การตลาด การบริหารบุคลากร ฯลฯ นักธุรกิจต้องมีการเขียนแผนธุรกิจออกมาให้เป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ในการเป็นภาพชัดเจน และ สื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจได้
2. Implement ดำิเนินการ
การนำแผนธูรกิจที่ได้เขียนไว้ ไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่่องที่ยากขึ้นไปอีก เพราะท่านจะพบกับปัญหาอุปสรรค์ต่างๆที่อาจคาดไม่ถึงมากก่อน นักธุรกิจหลายคนยอมแพ้และออกจากธุรกิจไปในขั้นตอนนี้มากมาย เพราะดำเนินการไม่สำเร็จ ก็หมดเงินทุน หรือ หมดกำลังใจไปเสียก่อน นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมแนะนำให้เลือกทำธุรกิจที่ใจรักก่อน เพราะท่านจะทนได้นานกว่า
3. Evaluate ประเมินผล
นักธุรกิจจำเป็นต้องมีการประเมินผลของการดำเนินการตามแผน ว่าเข้าเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ มีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุง หรือ เปลี่ยนแปลงบ้าง
การประเมินผลเป็นระยะๆอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้สามารถแก้ไขได้ทันเวลา หากการดำเนินการมีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเริ่มออกนอกทางที่วางไว้
4. Adjust ปรับปรุง
เมื่อประเมินผลดูแล้วว่าอะไรไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ หรือ มีปัญหาอะไรบ้าง ก็ต้องทำการปรับปรุงแก้ไข แล้วดำเนินการต่อ เพื่อให้เป็นไปตามที่ต้องการ เจ้าธุรกิจจึงเป็นเสมือนผู้ถือพวงมาลัยรถยนต์ ทำหน้าที่บังคับให้รถยนต์ไปตามเส้นทาง โดยไม่ชนสิ่งกีดขวาง หากเริ่มเขวออกนอกเส้นทางก็ต้องรีบบังคับกลับมาให้อยู่ในลู่ในทาง
C : CONTINUOUS
ความต่อเนื่องในการทำงาน เป็นอีกประเด็นที่สำคัญมาก นักธุรกิจหลายคนพอเริ่มทำธุรกิจไปสักพักใหญ่ๆก็เริ่มเบื่อหน่ายกิจกรรมประจำวันทางธุรกิจ เริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องอื่นๆแทน เหมือนกับการขับรถใจลอย ทำให้หลงทาง หรือเกิดอุบัติเหตุได้
นักธุรกิจที่ขาดความต่อเนื่องในการดูแลกิจกรรมทางธุรกิจก็เช่นเดียวกัน มักจะทำให้ธุรกิจที่ทำเริ่มเกิดปัญหาตามมาโดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ แต่พอนานวันเข้า ก็เกิดความเสียหายใหญ่ได้ เสมือนกับการพบรูสนิมเล็กๆบนผิวโลหะ หากไม่สนใจ มันก็จะกินลุกลามไปลึกและกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งก็ไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้อีกแล้ว
การกำกับดูแลธุรกิจก็เช่นกัน ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน จนระบบเข้าที่เข้าทาง มีบุคลากรที่สามารถเข้าใจและดูแลแทนได้เหมือนกับเจ้าของกิจการแล้ว เจ้าของจึงจะพักได้บ้าง แต่ก็ยังต้องดูผลประกอบการเป็นระยะๆอยู่อย่างต่อเนื่อง หากผลประกอบการเริ่มผิดปกติ ก็ต้องกลับไปดูรายละเอียดให้ใกล้ชิดขึ้น
ความต่อเนื่องที่ผมว่านั้นหมายความรวมถึง
- Everyday ทุกๆวัน
ท่านควรต้องกำกับดูแลธุรกิจเป็นประจำทุกๆวัน เพื่อติดตามดูว่าในวันนี้ต้องทำอะไรบ้าง และ ผลลัพธ์เป็นอย่างไรบ้าง มีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไขบ้าง อะไรที่ไปได้ดีแล้วบ้าง
- Step by Step ทีละขั้นทีละตอน
ความต่อเนื่องนั้นควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละขั้น อย่าเป็นไปแบบกระทันหันเกินไป เพราะอาจมีปัญหาในการปรับตัวของพนักงาน หรือ หุ้นส่วนธุรกิจได้ อีกทั้งต้องไม่ทำๆหยุดๆ หรือ ตื่นเต้นก็ทำต่อเนื่องอยู่พักใหญ่ พอหายตื่นเต้นก็หยุดซะงั้น หากเป็นแบบนี้ ธุรกิจของท่านก็จะโตๆหยุดๆ เช่นกัน
I : IMPROVEMENT
พัฒนาให้ดีขึ้น ในทุกๆทาง เพราะธุรกิจต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ คุณภาพสินค้า และบริการ ความรู้ของบุคลากร การประสานงานภายใน การติดต่อกับลูกค้า เทคโนโลยีที่ใช้ เป็นต้น
หากธุรกิจได้รับการพัฒนาเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จะทำให้คู่แข่งตามท่านไม่ทัน ท่านก็จะได้ส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น มีกำไรเพิ่มขึ้น และ ธุรกิจอยู่ได้อย่างยาวนาน
บางธุรกิจที่เริ่มต้นมีคู่แข่งน้อยราย มักทำให้เจ้าของกิจการชล่าใจไม่ค่อยใส่ใจพัฒนาธุรกิจ เพราะคิดว่าเท่าที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ไม่มีใครแข่งได้ ครั้นพอเวลาผ่านไป ยุคสมัยเปลี่ยนไป มีคู่แข่งเกิดขึ้นโดยคู่แข่งทำได้ดีกว่า ในราคาที่สมเหตุสมผลกว่า ธุรกิจเดิมที่ขาดการพัฒนาก็จะถูกแย่งส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อยๆ จนต้องออกจากธุรกิจไปในที่สุด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ธุรกิจร้านค้าปลีกยุคเก่า เมื่อถูกร้าค้าปลีกแบบแฟรนไชน์ มาแข่งก็ทำให้ร้านขายของชำยุคเก่าต้องล้มหายตายจากไปในที่สุด
การพัฒนา มีหลักการที่สำคัญ คือ
1. Better ทำให้ดีขึ้นกว่าเิดิม หมายความว่า การพัฒนาต้องทำให้ดีขึ้น ไม่ใช่เหมือนเดิมแต่เปลี่ยนหน้าตา เปลี่ยนเพียงผิวเผิน การเปลี่ยนควรมีนัยสำคัญเพียงพอที่จะส่งผลดีต่อธุรกิจได้ จึงจะดี
2. Study More มีการศึกษาเพิ่มเติม เจ้าของธุรกิจควรที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมในความรู้ที่อาจมาช่วยสนับสนุนธุรกิจที่ตนเองทำอยู่ให้ได้รับการพัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกลยุทธ์ธุรกิจ หรือ เชิงปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. See More การดูงานเพิ่มเติม คือ การรู้จักเดินทางไปต่างถิ่นเพื่่อดูกิจการประเภทเดียวกัน คล้ายกัน หรือเกี่ยวเนื่องกัน ของผู้อื่นเป็นระยะๆ เพื่อได้เรียนรู้จากของจริงว่าผู้อื่นทำอย่างไร เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานกับธุรกิจของตนเอง จะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูกเองมากจนเกินไป
จากแนวคิด CFCI ที่กล่าวมาข้างต้น คงพอเป็นแนวทางให้นักธุรกิจหลายท่านได้ใช้ประกอบการพิจารณาเลือกธุรกิจและดำเนินธุรกิจให้ก้าวหน้าต่อไป
ป้ายกำกับ:
นักธุรกิจต้องรู้...จึงจะรวย
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
หลักสูตรที่ให้การฝึกอบรม และ ปรึกษาธุรกิจ
M training
ให้การฝึกอบรมบุคคล และองค์กร ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้
(Training Services)
เกี่ยวกับธุรกิจ การเจรจาต่อรอง การตลาด การขาย ได้แก่
- การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ (Business Negotiation)
- การเจรจาต่อรองทางธุรกิจเชิงลึก (Advanced Business Negotiation)
- กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ (Modern Marketing Strategies)
- การจัดทำแผนธุรกิจ (Effective Business Plan)
- พื้นฐานธุรกิจ (Basic Business Concept)
- ศิลปะการขาย (Art of Selling)
- การสร้างแรงบันดาลใจสู่ความสำเร็จในการขาย (Motivation for Sales)
- การทำงานเป็นทีม และ การจัดการความขัดแย้ง
(Teamwork and Conflict Management)
- การพัฒนาศักยภาพสู่ความสำเร็จ โดยใช้ความคิดเชิงบวก
(Develop Maximum Potential with Positive Thinking)
(Teamwork and Conflict Management)
- การพัฒนาศักยภาพสู่ความสำเร็จ โดยใช้ความคิดเชิงบวก
(Develop Maximum Potential with Positive Thinking)
- จิตภาษา (NLP: Neuro Linguistic Programming)
เกี่ยวกับศิลปะการพูด การนำเสนอ และ บุคลิกภาพ ได้แก่
- ศิลปะการพูดในที่ชุมชน (The Art of Public Speaking)
- การเป็นวิทยากร (Train the Trainer)
- เทคนิคการนำเสนอแบบมืออาชีพ (Professional Presentation Technique)
- การพูดจูงใจสำหรับผู้นำ (Convincing Techniques for Leadership)
- บุคลิกภาพที่ดีสู่บริการที่น่าประทับใจ (Good Personality and Services)
เกี่ยวกับกฎหมาย ได้แก่
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA: Personal Data Protection Acts)
เกี่ยวกับศิลปะการพูด การนำเสนอ และ บุคลิกภาพ ได้แก่
- ศิลปะการพูดในที่ชุมชน (The Art of Public Speaking)
- การเป็นวิทยากร (Train the Trainer)
- เทคนิคการนำเสนอแบบมืออาชีพ (Professional Presentation Technique)
- การพูดจูงใจสำหรับผู้นำ (Convincing Techniques for Leadership)
- บุคลิกภาพที่ดีสู่บริการที่น่าประทับใจ (Good Personality and Services)
เกี่ยวกับกฎหมาย ได้แก่
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA: Personal Data Protection Acts)
- กฎหมายคอมพิวเตอร์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Computer and Ecommerce Law)
- กฎหมายลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา (Copy Right and Intellectual Property Law)
ติดต่อวิทยากร ที่ LineOA= @zru5884r
ติดต่อวิทยากร ที่ LineOA= @zru5884r
.
* หมายเหตุ:
* หมายเหตุ:
กรุณานัดหมายวิทยากร โดยติดต่อล่วงหน้าประมาณ 7 - 10 วันขึ้นไป ก่อนวันฝึกอบรม
=========================================================
ประเภทของการฝึกอบรม
Public Training
ให้การฝึกอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไปจากหลากหลายองค์กร จัดเป็นระยะๆ ตามกำหนดการ
โดยบริษัทฝึกอบรมต่างๆ
Inhouse Training / Corporate Training
ให้การฝึกอบรม ที่บริษัท หรือ องค์กร ของท่านเป็นกลุ่ม สามารถไปทั่วประเทศไทย
Personal Training or Small Group Training or Online Training **
สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกอบรมส่วนตัว หรือ กลุ่มเล็ก หรือ อบรมผ่านสื่อออนไลน์
=========================================================
ประเภทของการฝึกอบรม
Public Training
ให้การฝึกอบรมแก่ผู้สนใจทั่วไปจากหลากหลายองค์กร จัดเป็นระยะๆ ตามกำหนดการ
โดยบริษัทฝึกอบรมต่างๆ
Inhouse Training / Corporate Training
ให้การฝึกอบรม ที่บริษัท หรือ องค์กร ของท่านเป็นกลุ่ม สามารถไปทั่วประเทศไทย
Personal Training or Small Group Training or Online Training **
สำหรับผู้ที่ต้องการฝึกอบรมส่วนตัว หรือ กลุ่มเล็ก หรือ อบรมผ่านสื่อออนไลน์
, วิทยากร, วิทยากรฝึกอบรม, ฝึก
***********************************************************************
***********************************************************************
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554
การสร้างนิสัยรักการอ่าน
บุคคลสำคัญในสังคม ผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต และ การงาน แทบทุกคน ให้ความสำคัญกับ "การอ่าน" เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ แต่คนทั่วไปส่วนใหญ่ ไม่ชอบการอ่าน และ อ่านหนังสือกันน้อยมาก
อยากแนะนำว่า "โอกาส" และ "ทางแก้ปัญหา" หลายๆอย่างนั้น ได้มาจากการอ่านทั้งสิ้น ดังนั้น จึงควรมาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างนิสัย "รักการอ่าน" ให้เหมือนกับนิสัย "รักการเที่ยว" "รักการกิน" หรือ "รักกีฬา"
เทคนิคการสร้างนิสัยรักการอ่าน ขอแนะนำเป็นข้อๆไป ดังนี้
1. เริ่มจากการหาหนัวสือ วารสาร นิตยสาร สิ่งพิมพ์ ในประเภทที่ตนเองชอบ หรือ สนใจมาเป็นตัวเริ่มต้น เช่น นิตยสารดารา นวนิยายเด็ก หนังสือพิมพ์ วารสารท่องเที่ยว นิตยสารกีฬา เป็นต้น รวมถึงเว็บไซต์ข้อมูลหรือบทความต่างๆที่มีเนื้อหาที่ตนสนใจ เพราะหากเราเริ่มจากสิ่งที่ตนเองรักชอบเป็นพิเศษ จะทำให้อยากอ่าน และทนอ่านได้นาน
2. เมื่อเริ่มต้นฝึกนิสัยการอ่าน จะพบว่าตนเองอ่านได้ไม่เร็วนัก เนื่องจากขาดการฝึกฝนมานาน บางคนอ่านย้อนไปย้อนมา หรือ อ่านเป็นคำๆ ทำให้อ่านได้ช้า แต่เมื่ออ่านสิ่งที่ตนสนใจบ่อยๆ ก็จะทำให้สามารถอ่านได้คล่องขึ้นและเร็วขึ้น ทักษะด้านการอ่านเร็วนั้น ต้องค่อยๆพัฒนาจากการอ่าบ่อยๆ โดยฝึกตนเองให้อ่านทีละประโยค ไม่ใช่ทีละคำ และอ่านรวดเดียวจนจบย่อหน้า อย่าอ่านย้อนประโยคไปมา เมื่ออ่านจบย่อหน้าหากไม่เข้าใจค่อยย้อนมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้นย่อหน้ารวดเดียวจนจบซ้ำอีกครั้ง จึงจะได้ความคิดรวบยอดของย่อหน้านั้น
3. เมื่ออ่านหนังสือประเภทที่ตนชอบจนเริ่มคล่องแล้ว ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักชอบอ่านหนังสือแนวบันเทิง ก็ขยับขยายมาเป็นหนังสือแนวอื่นที่อาจเป็นแนวสาระมากขึ้น แต่ยังเป็นสาระที่ตนเองสนใจเป็นการส่วนตัวอยู่ เช่น คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี การเงินส่วนบุคคล จิตวิทยาการพัฒนาตนเอง เป็นต้น เพราะหนังสือแนวนี้จะช่วยพัฒนาความรู้ความคิดให้แก่ผู้อ่านได้มาก
4. ค่อยๆอ่านวันละเล็กละน้อยก่อนนอน เช่น อ่านเป็นเวลา 15 -30 นาที ก่อนนอนทุกคืน จนติดเป็นนิสัย เหมือนการแปรงฟันอาบน้ำก่อนนอน คือ ต้องอ่านหนังสือก่อนนอนมิฉะนั้น จะรูสึกว่าลืมทำอะไรไปสักอย่าง แสดงว่าท่านเริ่มติดการอ่านแล้ว
5. พัฒนานิสัยรักการอ่านมาสู่จุดที่ มีหนังสือติดตัว ติดรถ หรือ ติดกระเป๋า ไว้ตลอดเวลา เมื่อไหร่ที่มีเวลาว่า หรือ กำลังนั่งรออะไรก็ตาม ก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านทุกครั้งไป เป็นการฆ่าเวลา และได้ความรู้ไปด้วย ทำให้ไม่ต้องห่วงว่า ไม่ว่าง ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ เหมือนกับข้ออ้างของคนส่วนใหญ่ เพราะคุณสามารถอ่านได้ทุกช่วงเวลาสั้นๆที่มี
6. หลังจากได้อ่านหนังสือที่ตนเองสนใจเป็นหลักได้ระยะหนึ่งแล้ว ก็ลองอ่านหนังสือแนวอื่น เพื่อขยายขอบเขตความรู้ของตนเองให้กว้างขวางยิ่งๆขึ้นไป เช่น หากชอบอ่านหนังสือแนวจิตวิทยา ก็ลองอ่านหนังสือแนวบริหารการเงินดูบ้าง หรือหนังสือการดูแลสุขภาพ เทคโนโลยี เป็นต้น
7. ทุกครั้งที่อ่านหนังสือจบ ควรต้องทบทวนดูสารบัญ อีกรอบเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดว่า โดยรวมแล้ว หนังสือเล่มนั้นพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง และ ที่สำคัญที่สุดคือ มีประเด็นใดบ้างที่เราได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนั้นจากที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือ ไม่เคยให้ความสำคัญกับประเด็นนั้นมาก่อน และ จะนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร เอาซัก 1-2 เรื่องก่อนก็เพียงพอแล้ว เพราะบางแนวคิดในหนังสือดีๆ เพียง 1-2 เรื่องก็อาจเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้อ่านบางคนไปได้ตลอดไปเลยทีเดียว อีกทั้งความรู้สึก "ปิติ" มีความสุขที่ได้ "รู้" หรือ เกิด "ปัญญา" ขึ้นจากการอ่าน อีกทั้งยังนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ในเรื่องใหม่ๆ ก็จะยิ่งทำให้มีแรงบัลดาลใจให้อยากอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติดนิสัย "รักการอ่าน" ในที่สุด
8. ทดลองนำความรู้ที่ได้รับจากหนังสือ ไปปฏิบัติดูในชีวิตประจำวัน เช่น หากอ่านเทคนิคการทำกับข้าว ก็ลองนำบางเมนูอาหารไปทำจริงๆดู หากอ่านเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร ก็ลองนำไปทำกับคอมพิวเตอร์จริงๆ หากอ่านเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล ก็นำไปใช้บริหารการเงินของตนเองจริงๆ หากอ่านเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยว ก็ลองหาโอกาสไปเที่ยวสถานที่นั้นๆดู หากอ่านเกี่ยวกับการนังสมาธิ ก็นำไปฝึกนั่งสมาธิเอง หากอ่านเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ก็เริ่มออกกำลังกายตามคำแนะนำในหนังสือดู เหล่านี้เป็นตัวอย่างของการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง จะทำให้ท่านรู้สึกสนุกกับการอ่านมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าอ่านแล้วได้นำไปใช้จริง
9. เมื่อเกิดปัญหาใดๆขึ้นในชีวิต ให้เริ่มต้นจากการเข้าร้านหนังสือ เข้าห้องสมุด หรือ เข้าอินเตอร์เน็ต ค้นหาดูซิว่ามีใครเคยเขียนเกี่ยวกับปัญหาเดียวกับที่เรากำลังพบเจอมาก่อนหรือไม่ หากพบก็ "อ่าน" มันซะ เพื่อดูว่าเขามีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร จัดการกับปัญหาให้ลุล่วงได้อย่างไร เพื่อเราจะได้นำไปประยุกต์ใช้บ้าง และ ในหลายๆครั้ง ท่านจะพบว่า ปัญหาเกือบทุกปัญหา ที่คนทั่วไปพบอยู่นั้น เคยมีคนอื่นพบเจอแบบเดียวกันมาแล้ว และเขาหาทางแก้ไขปัญหาได้แล้ว อีกทั้งยังได้เขียนวิธีแก้ปัญหาเอาไว้แล้ว เพียงแต่เรายอมค้นคว้าหา "อ่าน" แค่นั้นเอง ปัญหาที่เผชิญอยู่ก็จะถูกแก้ไปได้อย่างง่ายดาย โดยอาศัยภูมิปัญญาของผู้อื่น ทำให้ไม่ต้องลองผิดลองถูกเองมากเกินไป หรือ มัวแต่มานั่งกลุ้มใจกับปัญหาที่ตนเองแก้ไขไม่ตก แต่คนอื่นแก้ตกไปนานแล้ว อีกต่อไป
เขียนบทความ โดย มงคล ตันติสุขุมาล
ป้ายกำกับ:
ความรู้ทั่วไป
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ฝึกอบรม การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ (Business Negotiation)
การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
(Business Negotiation)
โดย มงคล ตันติสุขุมาล
หลักการและเหตุผล
การเจรจาต่อรองเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน นับวันคนเราจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีความต้องการที่แตกต่างกัน ซึ่งใช้การต่อรองเป็นเครื่องมือในการหาจุดประนีประนอม นอกจากนี้ ธุรกิจเอกชน รัฐบาล ครอบครัว คนทั่วไป ต่างตัดสินใจผ่านขั้นตอนการต่อรองทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าเราทุกคนต้องประสบกับการเจรจาต่อรองกันทุกวัน แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเป็นนักต่อรองที่ดีได้
การดำเนินธุรกิจก็หลีกเลี่ยงการเจรจาต่อรองไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรองระหว่างพนักงานขายกับลูกค้า การเจรจาต่อรองเพื่อให้ได้สัญญาสำคัญทางธุรกิจ การต่อรองกับผู้ป้อนวัตถุดิบเพื่อให้ได้วัตถุดิบราคาถูก การเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินเพื่อให้ได้วงเงินกู้ หรือ อัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องการ ตลอดจนการเจรจาต่อรองกับผู้แทนลูกจ้าง หรือ สหภาพแรงงาน เป็นต้น ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ใช้วิธีการเจรจาต่อรองที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ หรือผู้เจรจาไม่มีความรู้ในเรื่องการเจรจาต่อรอง ก็มักจะเจรจาต่อรองตามอารมณ์ หรือ พยายามแต่จะเอาชนะกันเท่านั้น ผลสุดท้ายย่อมจะนำมาซึ่งความสูญเสีย ในแง่ผลประโยชน์ที่ควรจะได้ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจ หรือ สูญเสียความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคลไปอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าบุคคลนั้นเรียนรู้วิธีการเจรจาต่อรองที่ถูกต้อง การเจรจาต่อรองก็จะเป็นเรื่องของการประสานผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ผลลัพธ์ย่อมนำมาซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่าย และ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ถึงหลักการและวิธีการเจรจาต่อรองที่มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อฝึกฝนทักษะด้านการเจรจาต่อรองทางธุรกิจให้แก่ผู้รับการฝึกอบรม
หัวข้อการฝึกอบรม
1. ความหมาย ความสำคัญ และประเภท ของการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
2. ศิลปะการพูดที่เกี่ยวข้องการการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
3. กระบวนการ หลักการ ในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจตามหลักสากล
4. เทคนิคในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจทั่วไป 21 รูปแบบ
5. เทคนิคในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ แบ่งตามกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- การเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการซื้อขาย
- การเจรจาต่อรองเพื่อการร้องเรียนต่างๆ
- การเจรจาต่อรองกับบุคคลในวิชาชีพ หรือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
- การเจรจาต่อรองทำสัญญา
- การเจรจาต่อรองกับลูกจ้างตามกระบวนการแรงงานสัมพันธ์
- การเจรจาต่อรองกับแหล่งเงินทุน
5. การเจรจาต่อรองแบบตะวันตก แบบญี่ปุ่น และ แบบจีน
6. การอ่านภาษากาย และ การจับโกหก ในการเจรจา
7. ปัญหาของการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ และ แนวทางแก้ไข
8. ตัวอย่างประสบการณ์การเจรจาต่อรองของนักธุรกิจไทย
9. ฝึกปฏิบัติการการใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองโดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรม และ รับฟังคำแนะนำจาวิทยากร
กำหนดเวลา วันแรก
เวลา หัวข้อ
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.20 แนะนำวิทยากร และ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อความคุ้นเคยกัน
09.20 – 10.00 ความหมาย ความสำคัญ และประเภท ของการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
10.00 – 10.30 ศิลปะการพูดที่เกี่ยวข้องกับการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ
10.30 – 10.45 พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
10.45 – 12.00 กระบวนการ หลักการ ในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจตามหลักสากล
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.15 เทคนิคในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจทั่วไป 21 รูปแบบ
14.15 – 15.00 ฝึกปฏิบัติการการใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองโดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
15.00 – 15.15 พักดื่มกาแฟ และทานของว่าง
15.15 – 16.00 ฝึกปฏิบัติการการใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองโดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
กำหนดเวลา วันที่สอง
เวลา หัวข้อ
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.20 ทบทวนความรู้ของวันแรก
09.20 – 10.30 เทคนิคในการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ แบ่งตามกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- การเจรจาต่อรองเกี่ยวกับการซื้อขาย
- การเจรจาต่อรองเพื่อการร้องเรียนต่างๆ
- การเจรจาต่อรองกับบุคคลในวิชาชีพ หรือ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน- การเจรจาต่อรองทำสัญญา
- การเจรจาต่อรองกับลูกจ้างตามกระบวนการแรงงานสัมพันธ์
- การเจรจาต่อรองกับแหล่งเงินทุน
10.30 – 10.45 พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
10.45 – 12.00 ฝึกปฏิบัติการการใช้เทคนิคการเจรจาต่อรองโดยผู้เข้าร่วมฝึกอบรม
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.15 การเจรจาต่อรอง แบบญี่ปุ่น แบบจีน และ แบบไทย
14.15 - 15.00 การอ่านภาษากาย และ การจับโกหก
15.00 - 15.15 พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.00 ปัญหาของการเจรจาต่อรองทางธุรกิจ และ แนวทางแก้ไข
16.00 – 16.30 ประเมินผลการฝึกอบรม และ ถ่ายรูปร่วมกัน
หมายเหตุ: กำหนดเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เพื่อประโยชน์ของผู้เข้าฝึกอบรม
ติดต่อ: โทร 0817168711 email: mingbiz@yahoo.com
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
ฝึกอบรม กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ (Modern Marketing Strategies)
กลยุทธ์การตลาดยุคใหม่ (Modern Marketing Strategies)
โดย มงคล ตันติสุขุมาล
หลักการ และ เหตุผล
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา การตลาดได้มีการพัฒนาในยุคต่างๆมาแล้วหลายยุค มีการเชื่อกันว่าผู้ที่จะชนะในการแข่งขันทางธุรกิจคือผู้ที่แข็งแกร่งกว่า ผู้ที่อยู่มาก่อน ผู้ที่เริ่มจากความว่างเปล่า จนกลายเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ผู้ที่จะเข้ามาในตลาด ต้องแข่งขัน แก่งแย่ง เพราะพื้นที่สำหรับคนใหม่มีน้อยลง ความล้มเหลวของสินค้าใหม่ๆที่ผลิตออกสู่ตลาดสูงขึ้นมาก การตลาดจึงมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จของธุรกิจ
การตลาดมีการพัฒนาไปหลากหลาย ตั้งแต่เรื่องของ ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix), วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle), ภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image), การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) การกำหนดตลาดเป้าหมาย (Targeting), การวางตำแหน่งทางการตลาด (Positioning), การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relation Management),การตลาดเพื่อสังคม(Social Marketing), จริยธรรมทางการตลาด (Marketing Etics), การตลาดอินเตอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(Internet & E-Business Marketing), การตลาดนอกกรอบ (Lateral Marketing) ตลอดจนถึง การตลาด 3.0 (Marketing 3.0) เป็นเรื่องที่ต้องรู้จักวิธีการนำมาใช้ประโยชน์ จึงจะสามารถนำมาซึ่งความสำเร็จทางธุรกิจ
การตลาดเชิงรุก (Proactive Marketing) จึงเป็นการประมวลหลักการสำคัญๆในการตลาด มาเพื่อการเพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จให้กับธุรกิจของท่านอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ หลักการของการตลาด 3.0 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ทางการตลาดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ถึงหลักการด้านการตลาดต่างๆโดยเฉพาะ การตลาดยุคใหม่ ได้แก่ การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ การตลาด 3.0 อันจะนำมาซึ่งความคิดรวบยอดทางการตลาดของผู้เข้ารับการอบรมเพื่อนำไปปรับใช้กับธุรกิจของตนเอง
2. ฝึกฝนทักษะด้านการตลาดให้แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
หัวข้อการฝึกอบรม
1. ความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอนของการตลาด
2. หลักการตลาดในยุค การตลาด 1.0 เช่น Marketing Mix, Product Life Cycle, Marketing Segmentation
3. หลักการตลาดในยุค การตลาด 2.0 เช่น Product Differentiation, Positioning, Customer Satisfaction, Customer Relation Management, Service Business Marketing
4. หลักการตลาดนอกกรอบ (Lateral Marketing)
5. อินเตอร์เน็ต และ การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Internet and E-Business Marketing)
6. หลักการของ การตลาด 3.0 Aspiration, Emotional and Human Spirit Marketing
วันแรก
เวลา หัวข้อ
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.20 แนะนำวิทยากร และ ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เพื่อความคุ้นเคยกัน
09.20 – 10.00 ความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอน ของการตลาด
10.00 – 10.30 หลักการตลาดในยุค การตลาด 1.0
10.30 – 10.45 พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
10.45 – 12.00 หลักกรตลาดในยุค การตลาด 2.0
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 การตลาดนอกกรอบ (Lateral Marketing)
14.30 – 15.00 แบ่งกลุ่ม ระดมสมอง เรื่อง การคิดกลยุทธ์การตลาดนอกกรอบ
15.00 – 15.15 พักดื่มกาแฟ และทานของว่าง
15.15 – 16.30 นำเสนอผลการระดมสมอง ต่อเพื่อนร่วมการฝึกอบรม
วันที่สอง
เวลา หัวข้อ
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน
09.00 – 09.20 ทบทวนความรู้ในวันแรก
09.20 – 10.30 อินเตอร์เน็ต และ การตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
10.30 – 10.45 พักดื่มกาแฟและทานของว่าง
10.45 – 12.00 การตลาด 3.0
12.00 – 13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 15.00 การตลาด 3.0 (ต่อ)
15.00 – 15.15 พักดื่มกาแฟ และทานของว่าง
15.15 – 16.00 การตลาด 3.0 (ต่อ)
16.00 – 16.30 ประเมินผลการฝึกอบรม และ ถ่ายรูปร่วมกัน
หมายเหตุ: กำหนดการณ์อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม
ติดต่อ โทร 0817168711 หรือ email: mingbiz@yahoo.com
ป้ายกำกับ:
วิทยากร ฝึกอบรม สัมมนา บรรยาย
วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554
ธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว กับ บริษัทจำกัด
ธุรกิจที่เริ่มต้นด้วยเจ้าของคนเดียว ลงทุนเอง กู้เงินเอง บริหารจัดการเอง กำไรหรือขาดทุนก็รับเอง แบบนี้มีอยู่มากและ เป็นธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศ หากธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวมีกำไรดี ก็มักประสบปัญหาว่าเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้นไป เจ้าของมักดูแลเองไม่ไหว การขยายกิจการก็ต้องลงทุนเพิ่ม ต้องกู้หนี้เพิ่ม รับพนักงานเพิ่ม ดูแลสถานที่เพิ่ม ปวดหัวเพิ่ม หากเจ้าของป่วย ธุรกิจก็ป่วยด้วย และ ความยุ่งยากซับซ้อนทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโต ก็ทำให้เจ้าของมีชีวิตที่วุ่นวายซับซ้อนขึ้นตามไปด้วย
วิธีแก้ไขผมขอแนะนำให้เจ้าของธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวตอนเริ่มต้น และธุรกิจไปได้ด้วยดีแล้ว หากต้องการขยายกิจการ ควรทำเป็นรูปแบบของบริษัทจำกัด จะดีที่สุดเนื่องจาก
1. การกระจายหุ้น โดยมีผู้ร่วมทุน ผู้ถือหุ้น เข้ามาจะทำให้เจ้าของได้เงินทุนจากนักลงทุน โดยไม่ต้องกู้เงินธนาคารเพิ่มทั้งหมด เป็นการลดการเป็นหนี้ลง และ ไม่ต้องเสี่ยงคนเดียว
2. นักลงทุน ถือเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ที่รับรู้ว่าธุรกิจอาจมีความเสี่ยง หากกำไรก็รวยด้วยกัน หากขาดทุน ก็ขาดทุนด้วยกัน แต่ไม่เกินวงเงินที่นักลงทุนแต่ละคนได้ลงไว้ เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
3. ผู้ถือหุ้น เป็น หุ้นส่วน แต่ หากกู้เงินจากธนาคาร ถือเป็น เจ้าหนี้ ซึ่งความกดดันให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน แม้ว่าธุรกิจจะขาดทุนในบางปี หรือ ขาดสภาพคล่องทางการเงินในบางเดือน ไม่สามารถนำมาเป็นข้อยกเว้นไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่กรณีเดียวกัน สามารถขออนุญาตผู้ถือหุ้นว่าปีที่ขาดทุนอาจยังไม่จ่ายเงินปันผลหุ้นได้ แต่เมื่อกิจการมีกำไรดี ผู้ถือหุ้นก็มักได้เงินปันผลหุ้นสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดเงินปันผลแต่ละปีของกรรมการบริหารบริษัท
4. การมีผู้ถือหุ้นใหญ่เข้ามาเป็นกรรมการบริหารธุรกิจร่วมด้วย อาจทำให้ได้บุคคลระดับมันสมองมาช่วยคิด ช่วยบริหาร ทำให้ความเสี่ยงในการจัดการลดลง
5. ภาพลักษณ์ที่มีต่อบุคคลภายนอก ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการไม่ว่า ซัพพลายเออร์ หรือ ลูกค้า ก็จะดี เพราะคนมักมองว่า กิจการแบบบริษัทจำกัด นั้นมีความเป็นมืออาชีพ มีความมั่นคง และ น่าเชื่อถือมากกว่า ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
6. การที่เจ้าของกิจการเดิม เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ มีหุ้นมากว่า 50% (ปกติมักถือมากว่า 51%) ขึ้นไป นั้น ทำให้ยังมีอำนาจในการบริหารงานเหมือนเดิมครบถ้วน ไม่ต้องกลัวว่า การกระจายหุ้นแล้วตนเองจะไม่ส่ามารถสั่งงานหรือบริหารได้เองอีกต่อไป เพียงแต่อาจมีคนมาช่วยบริหารมากกว่า ถ้าได้คนดี มีความสามารถมาช่วย ก็จะเป็นการดีต่อธุรกิจในอนาคต
7. การเลือกผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็อาจต้องพิจารณาโดยรอบคอบ หาคนที่มีแนวคิดหลักไปด้วยกันได้ จะดีที่สุด หรือ ไม่ก็ เป็นผู้ที่สนใจลงทุนอย่างเดียว ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงาน ก็ดี
8. ผู้ถือหุ้น มักคอยเป็นประชาสัมพันธ์ คอยแนะนำให้ญาติพี่น้อง คนรู้จัก มาใช้บริการกับธุรกิจที่ตนเองมีหุ้นอยู่ ทำให้ได้ลูกค้าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ถือหุ้นรายนั้นๆเป็นผู้กว้างขวางในสังคม
9. การให้พนักงานขององค์กร สามารถซื้อหุ้น เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมด้วย ทำให้ทำงานอย่างตั้งใจและเต็มที่กว่าเดิม
10. ข้อควรพิจารณา คือ การแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด แล้ว การบริหารกิจการต้องมีระบบระเบียบ มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่สามารถทำแบบมั่วๆ ตามใจเจ้าของ อย่างเดิมอีกต่อไป เพราะผู้ถือหุ้นจับตามองอยู่ อีกทั้ง การตัดสินใจเรื่องสำคัญ ต้องผ่านคณะกรรมการบริหาร ซึ่งควรกำหนดจำนวนให้เหมาะสมไม่มากเกินไป เพราะมากคนก็มากความ คุยกันไม่จบ มัวแต่ขัดแย้งกัน ต่างคนต่างความคิด เรื่องที่ควรจะง่าย ก็กลับกลายเป็นยากไป จึงควรหาคณะกรรมการที่มีแนวคิดพื้นฐานไปด้วยกันได้ จึงจะดี แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป เอาพอเป็นสาระ ได้มุมมองที่แตกต่าง มีคนช่วยคิดอ่านงานสำคัญ ก็พอ
จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น จะทำให้ท่านที่ทำธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว เห็นชัดขึ้นว่า กิจการแบบบริษัทจำกัด มีข้อดีกว่า ธุรกิจเจ้าของคนเดียวอยู่หลายประการ ท่านเจ้าของธุรกิจ จึงควรใช้ประกอบการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคิดจะขยายธุรกิจ โดยไม่ต้องการเสี่ยงและเหนื่อยหลายเรื่องอยู่ตามลำพังอีกต่อไป
วิธีแก้ไขผมขอแนะนำให้เจ้าของธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียวตอนเริ่มต้น และธุรกิจไปได้ด้วยดีแล้ว หากต้องการขยายกิจการ ควรทำเป็นรูปแบบของบริษัทจำกัด จะดีที่สุดเนื่องจาก
1. การกระจายหุ้น โดยมีผู้ร่วมทุน ผู้ถือหุ้น เข้ามาจะทำให้เจ้าของได้เงินทุนจากนักลงทุน โดยไม่ต้องกู้เงินธนาคารเพิ่มทั้งหมด เป็นการลดการเป็นหนี้ลง และ ไม่ต้องเสี่ยงคนเดียว
2. นักลงทุน ถือเป็นหุ้นส่วนธุรกิจ ที่รับรู้ว่าธุรกิจอาจมีความเสี่ยง หากกำไรก็รวยด้วยกัน หากขาดทุน ก็ขาดทุนด้วยกัน แต่ไม่เกินวงเงินที่นักลงทุนแต่ละคนได้ลงไว้ เป็นการกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
3. ผู้ถือหุ้น เป็น หุ้นส่วน แต่ หากกู้เงินจากธนาคาร ถือเป็น เจ้าหนี้ ซึ่งความกดดันให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน แม้ว่าธุรกิจจะขาดทุนในบางปี หรือ ขาดสภาพคล่องทางการเงินในบางเดือน ไม่สามารถนำมาเป็นข้อยกเว้นไม่จ่ายดอกเบี้ย แต่กรณีเดียวกัน สามารถขออนุญาตผู้ถือหุ้นว่าปีที่ขาดทุนอาจยังไม่จ่ายเงินปันผลหุ้นได้ แต่เมื่อกิจการมีกำไรดี ผู้ถือหุ้นก็มักได้เงินปันผลหุ้นสูงกว่าการฝากเงินไว้กับธนาคาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดเงินปันผลแต่ละปีของกรรมการบริหารบริษัท
4. การมีผู้ถือหุ้นใหญ่เข้ามาเป็นกรรมการบริหารธุรกิจร่วมด้วย อาจทำให้ได้บุคคลระดับมันสมองมาช่วยคิด ช่วยบริหาร ทำให้ความเสี่ยงในการจัดการลดลง
5. ภาพลักษณ์ที่มีต่อบุคคลภายนอก ธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการไม่ว่า ซัพพลายเออร์ หรือ ลูกค้า ก็จะดี เพราะคนมักมองว่า กิจการแบบบริษัทจำกัด นั้นมีความเป็นมืออาชีพ มีความมั่นคง และ น่าเชื่อถือมากกว่า ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
6. การที่เจ้าของกิจการเดิม เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ มีหุ้นมากว่า 50% (ปกติมักถือมากว่า 51%) ขึ้นไป นั้น ทำให้ยังมีอำนาจในการบริหารงานเหมือนเดิมครบถ้วน ไม่ต้องกลัวว่า การกระจายหุ้นแล้วตนเองจะไม่ส่ามารถสั่งงานหรือบริหารได้เองอีกต่อไป เพียงแต่อาจมีคนมาช่วยบริหารมากกว่า ถ้าได้คนดี มีความสามารถมาช่วย ก็จะเป็นการดีต่อธุรกิจในอนาคต
7. การเลือกผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็อาจต้องพิจารณาโดยรอบคอบ หาคนที่มีแนวคิดหลักไปด้วยกันได้ จะดีที่สุด หรือ ไม่ก็ เป็นผู้ที่สนใจลงทุนอย่างเดียว ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการบริหารงาน ก็ดี
8. ผู้ถือหุ้น มักคอยเป็นประชาสัมพันธ์ คอยแนะนำให้ญาติพี่น้อง คนรู้จัก มาใช้บริการกับธุรกิจที่ตนเองมีหุ้นอยู่ ทำให้ได้ลูกค้าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ถือหุ้นรายนั้นๆเป็นผู้กว้างขวางในสังคม
9. การให้พนักงานขององค์กร สามารถซื้อหุ้น เพื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยได้ จะทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของร่วมด้วย ทำให้ทำงานอย่างตั้งใจและเต็มที่กว่าเดิม
10. ข้อควรพิจารณา คือ การแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด แล้ว การบริหารกิจการต้องมีระบบระเบียบ มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น ไม่สามารถทำแบบมั่วๆ ตามใจเจ้าของ อย่างเดิมอีกต่อไป เพราะผู้ถือหุ้นจับตามองอยู่ อีกทั้ง การตัดสินใจเรื่องสำคัญ ต้องผ่านคณะกรรมการบริหาร ซึ่งควรกำหนดจำนวนให้เหมาะสมไม่มากเกินไป เพราะมากคนก็มากความ คุยกันไม่จบ มัวแต่ขัดแย้งกัน ต่างคนต่างความคิด เรื่องที่ควรจะง่าย ก็กลับกลายเป็นยากไป จึงควรหาคณะกรรมการที่มีแนวคิดพื้นฐานไปด้วยกันได้ จึงจะดี แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป เอาพอเป็นสาระ ได้มุมมองที่แตกต่าง มีคนช่วยคิดอ่านงานสำคัญ ก็พอ
จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น จะทำให้ท่านที่ทำธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว เห็นชัดขึ้นว่า กิจการแบบบริษัทจำกัด มีข้อดีกว่า ธุรกิจเจ้าของคนเดียวอยู่หลายประการ ท่านเจ้าของธุรกิจ จึงควรใช้ประกอบการพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคิดจะขยายธุรกิจ โดยไม่ต้องการเสี่ยงและเหนื่อยหลายเรื่องอยู่ตามลำพังอีกต่อไป
ป้ายกำกับ:
นักธุรกิจต้องรู้...จึงจะรวย
วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554
การมาก่อนเวลานัดหมายกับการทำธุรกิจ
ในการประกอบธุรกิจ สิ่งที่มักมีปัญหากับคนไทย คือ การไม่ตรงต่อเวลา ไม่ว่าจะในเรื่องการนัดพบ หรือ เรื่องกำหนดส่งงาน เป็นต้น ทำให้ชาวต่างชาติ หรือ นักธุรกิจมืออาชีพ หลายๆรายเอือมระอากับพฤติกรรมที่ไม่เป็นมืออาชีพของนักธุรกิจมือใหม่ หรือ มือเก่าชาวไทยทั้งหลาย
มีกรณีตัวอย่างที่ผู้รับออกแบบ รับปากจะส่งแบบให้แก่บริษัท แต่กลับเลื่อนกำหนดหลายครั้งด้วยข้ออ้างว่า พนักงานของตนป่วยบ้าง ติดธุระสำคัญบ้าง จึงทำให้งานไม่เสร็จ จนลูกค้าชาวต่างชาติรายนี้หงุดหงิดกับความไม่ตรงต่อเวลา และเตรียมจะยกเลิกสัญญาการว่าจ้าง เมื่อเขามาปรึกษาผม ผมจึงแนะนำให้ลองให้โอกาสผู้รับงานอีกสักครั้ง โดยการนัดพบและให้ผู้รับงานกำหนดวันเสร็จงานเอง รับปาก และ ลงนามกำกับบันทึกการประชุมไว้เอง เพื่อว่าหากเขาไม่สามารถทำเสร็จตามกำหนดเส้นตาย (ครั้งสุดท้าย) นี้ได้ ก็จะได้ดำเนินการด้านการยกเลิกสัญญาจ้างต่อไป
ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า พอถูกบีบด้วยเงื่อนไขนี้ ผู้รับงานกลับทำเสร็จและส่งได้ตามเวลาทุกประการ ทั้งๆที่ล่าช้ามานาน ทำให้ผมมองเห็นว่า นักธุรกิจคนไทย นั้น มีความสามารถ แต่บางคนยังขาดความมีวินัย และความตรงต่อเวลา
ผมเคยนัดพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งให้มาติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็รับนัดกันอย่างดีว่าจะมาในวันพรุ่งนี้เวลา 10 โมงเช้า ผมก็มารอ รอแล้วรอเล่าจน 11 โมง ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีใครมา จึงโทรไปสอบถาม ปรากฎว่าเขาไปทำการติดตั้งที่อื่นอยู่ ไม่สามารถมาตามนัดได้ แต่ก็ไม่โทรบอกผมล่วงหน้า ทำให้ผมเสียเวลาไปครึ่งวัน เพื่อจะได้รู้ว่า เขาผิดนัด เหตุการณ์นี้ทำให้ผมสรุปในใจตนเองได้ว่า หลังจากงานนี้ผมจะไม่ใช้บริการของร้านนี้อีกเลย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ผมเคยนัดพนักงาน Part Time มาช่วยพิมพ์งาน นัดล่วงหน้าแล้ว 1 สัปดาห์ เมื่อถึงวันนัดหมาย ผมก็มาสำนักงาน เปิดประตู นั่งรอ รออยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่มีใครมา โทรไปหา ไม่รับสาย จึงฝากข้อความเสียงไว้ อีก 1 ชั่วโมงต่อมา จึงมีโทรศัพท์กลับมาว่า ลืมนัด และ ไปต่างอำเภอมา ทั้งที่วันที่พูดนัดกันผมยังเห็นเขาบันทึกลงในโทรศัพท์มือถือของเขาอยู่เลย ทำให้ผมเสียเวลาไปครึ่งวัน เพราะการไม่ใส่ใจนัดหมายของผู้รับนัดรายนี้ เดิมผมคิดว่าอาจจะว่าจ้างให้เขาทำอย่างอื่นเพิ่มเติม แต่ถึงเวลานี้ผมเปลี่ยนใจแล้ว
หากเราเห็นว่าเวลาของเรามีค่า เวลาของคนอื่นก็มีค่าเช่นเดียวกัน การนัดหมายส่งงานแล้วไม่สามารถทำได้ตามกำหนด ควรมีการแจ้งล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ แต่ตนเองก็ต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยตนเองอย่างเต็มที่เสียก่อน
เมื่อถึงกำหนดนัดหมายประชุม ก็ควรมาก่อนเวลาเล็กน้อย อย่าให้คนอื่นต้องรอคอย เพราะเวลาของคนอื่นก็มีค่าเช่นกัน เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะการมาสาย พร้อมข้ออ้าง ทำให้ลูกค้าคาดเดาต่อไปว่า "หากว่าจ้างคนนี้หรือบริษัทนี้ทำงาน เขาก็คงทำให้งานล่าช้าพร้อมยกข้ออ้าง ให้ลูกค้าต้องปวดใจในอนาคตอีกเช่นกัน" คิดแล้วก็อย่าว่าจ้างรายนี้ดีกว่า เป็นต้น ทำให้ท่านอาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างใหญ่หลวง
ผมจึงอยากเน้นย้ำคำว่า "มาก่อนเวลานัดหมาย" ไม่ใช่ "มาตรงเวลานัดหมาย" เพราะท่านควรเผื่อเรื่องที่คาดไม่ถึงอันทำให้ต้องสาย หรือ ผิดเวลานัด เช่น เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยบนถนนข้างหน้า ทำให้รถติด ใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น หรือ เมื่อท่านมาถึงสถานที่นัด อาจปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำสัก 15 นาที หากมาตรงเวลา แต่แวะเข้าห้องน้ำ ก็กลายเป็นพบหน้าลูกค้าสายกว่าเวลานัดเป็นต้น ผมจึงอยากเน้นให้ มาก่อนเวลานัดหมาย ไม่ใช่ กะเวลาให้มาตรงเวลาพอดี โดยไม่เผื่อเรื่องคาดไม่ถึง
หากเกิดเหตุสุดวิสัยกลางทาง ที่ทำให้ท่านแน่ใจว่าไปไม่ทันเวลานัดหมายแน่ๆ ควร รีบโทรไปแจ้งแต่เนิ่นๆ และขอเลื่อนเวลานัดออกไป เพื่อว่าผู้รับนัดจะได้จัดเวลาไปทำอย่างอื่นก่อน ไม่ใช่ปล่อยให้เขานั่งรอ
ในกรณีกลับกัน หากท่านไปยังปลายทางที่นัดพบก่อนเวลา เมื่อถึงเวลานัดหมายแล้ว ผู้รับนัดซึ่งอาจเป็นว่าที่ลูกค้ายังไม่มา ท่านก็ควรโทรไปแจ้งให้เขาทราบว่า ขณะนี้ท่านได้มาถึงที่นัดหมายเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เขารับทราบ เขาจะได้รับรู้ว่าท่านมาตรงเวลา และ หากเขาติดงานสำคัญจึงมาสาย ท่านก็จะได้รู้และหากิจกรรมอื่นทำไปก่อนระหว่างรอ ไม่รู้สึกหงุดหงิด เพราะความหงุดหงิด มักเกิดจากการรอคอยโดยไร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่การรอคอยจะสิ้นสุดลง จะไปทำอย่างอื่นก่อนก็ไม่ได้ หากเกิดผู้รับนัดมาจะไม่พบ เมื่อหงุดหงิดมากขึ้น พอพบกัน การคุยธุรกิจด้วยอารมณ์ที่ขุ่นมัวก็มักไม่ราบรื่น และอาจสูญเสียธุรกิจไปได้
การจัดการกับการนัดหมายอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจเช่นกัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่านรู้สึกได้ถึงความเป็นมืออาชีพ และ เกิดความประทับใจ ใช้บริการหรือเป็นลูกค้าประจำ แนะนำบอกต่อคนอื่นๆ ด้วยความรู้สึกว่า ท่านเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีวินัย และ ตรงต่อเวลา อันจะทำให้ธุรกิจของท่านเติบโตต่อๆไปอย่างยั่งยืน
มีกรณีตัวอย่างที่ผู้รับออกแบบ รับปากจะส่งแบบให้แก่บริษัท แต่กลับเลื่อนกำหนดหลายครั้งด้วยข้ออ้างว่า พนักงานของตนป่วยบ้าง ติดธุระสำคัญบ้าง จึงทำให้งานไม่เสร็จ จนลูกค้าชาวต่างชาติรายนี้หงุดหงิดกับความไม่ตรงต่อเวลา และเตรียมจะยกเลิกสัญญาการว่าจ้าง เมื่อเขามาปรึกษาผม ผมจึงแนะนำให้ลองให้โอกาสผู้รับงานอีกสักครั้ง โดยการนัดพบและให้ผู้รับงานกำหนดวันเสร็จงานเอง รับปาก และ ลงนามกำกับบันทึกการประชุมไว้เอง เพื่อว่าหากเขาไม่สามารถทำเสร็จตามกำหนดเส้นตาย (ครั้งสุดท้าย) นี้ได้ ก็จะได้ดำเนินการด้านการยกเลิกสัญญาจ้างต่อไป
ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า พอถูกบีบด้วยเงื่อนไขนี้ ผู้รับงานกลับทำเสร็จและส่งได้ตามเวลาทุกประการ ทั้งๆที่ล่าช้ามานาน ทำให้ผมมองเห็นว่า นักธุรกิจคนไทย นั้น มีความสามารถ แต่บางคนยังขาดความมีวินัย และความตรงต่อเวลา
ผมเคยนัดพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งให้มาติดตั้งกล้องวงจรปิด ก็รับนัดกันอย่างดีว่าจะมาในวันพรุ่งนี้เวลา 10 โมงเช้า ผมก็มารอ รอแล้วรอเล่าจน 11 โมง ก็ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีใครมา จึงโทรไปสอบถาม ปรากฎว่าเขาไปทำการติดตั้งที่อื่นอยู่ ไม่สามารถมาตามนัดได้ แต่ก็ไม่โทรบอกผมล่วงหน้า ทำให้ผมเสียเวลาไปครึ่งวัน เพื่อจะได้รู้ว่า เขาผิดนัด เหตุการณ์นี้ทำให้ผมสรุปในใจตนเองได้ว่า หลังจากงานนี้ผมจะไม่ใช้บริการของร้านนี้อีกเลย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ผมเคยนัดพนักงาน Part Time มาช่วยพิมพ์งาน นัดล่วงหน้าแล้ว 1 สัปดาห์ เมื่อถึงวันนัดหมาย ผมก็มาสำนักงาน เปิดประตู นั่งรอ รออยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ไม่มีใครมา โทรไปหา ไม่รับสาย จึงฝากข้อความเสียงไว้ อีก 1 ชั่วโมงต่อมา จึงมีโทรศัพท์กลับมาว่า ลืมนัด และ ไปต่างอำเภอมา ทั้งที่วันที่พูดนัดกันผมยังเห็นเขาบันทึกลงในโทรศัพท์มือถือของเขาอยู่เลย ทำให้ผมเสียเวลาไปครึ่งวัน เพราะการไม่ใส่ใจนัดหมายของผู้รับนัดรายนี้ เดิมผมคิดว่าอาจจะว่าจ้างให้เขาทำอย่างอื่นเพิ่มเติม แต่ถึงเวลานี้ผมเปลี่ยนใจแล้ว
หากเราเห็นว่าเวลาของเรามีค่า เวลาของคนอื่นก็มีค่าเช่นเดียวกัน การนัดหมายส่งงานแล้วไม่สามารถทำได้ตามกำหนด ควรมีการแจ้งล่วงหน้าแต่เนิ่นๆ แต่ตนเองก็ต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยตนเองอย่างเต็มที่เสียก่อน
เมื่อถึงกำหนดนัดหมายประชุม ก็ควรมาก่อนเวลาเล็กน้อย อย่าให้คนอื่นต้องรอคอย เพราะเวลาของคนอื่นก็มีค่าเช่นกัน เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะการมาสาย พร้อมข้ออ้าง ทำให้ลูกค้าคาดเดาต่อไปว่า "หากว่าจ้างคนนี้หรือบริษัทนี้ทำงาน เขาก็คงทำให้งานล่าช้าพร้อมยกข้ออ้าง ให้ลูกค้าต้องปวดใจในอนาคตอีกเช่นกัน" คิดแล้วก็อย่าว่าจ้างรายนี้ดีกว่า เป็นต้น ทำให้ท่านอาจสูญเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างใหญ่หลวง
ผมจึงอยากเน้นย้ำคำว่า "มาก่อนเวลานัดหมาย" ไม่ใช่ "มาตรงเวลานัดหมาย" เพราะท่านควรเผื่อเรื่องที่คาดไม่ถึงอันทำให้ต้องสาย หรือ ผิดเวลานัด เช่น เกิดอุบัติเหตุเล็กน้อยบนถนนข้างหน้า ทำให้รถติด ใช้เวลาเดินทางเพิ่มขึ้น หรือ เมื่อท่านมาถึงสถานที่นัด อาจปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำสัก 15 นาที หากมาตรงเวลา แต่แวะเข้าห้องน้ำ ก็กลายเป็นพบหน้าลูกค้าสายกว่าเวลานัดเป็นต้น ผมจึงอยากเน้นให้ มาก่อนเวลานัดหมาย ไม่ใช่ กะเวลาให้มาตรงเวลาพอดี โดยไม่เผื่อเรื่องคาดไม่ถึง
หากเกิดเหตุสุดวิสัยกลางทาง ที่ทำให้ท่านแน่ใจว่าไปไม่ทันเวลานัดหมายแน่ๆ ควร รีบโทรไปแจ้งแต่เนิ่นๆ และขอเลื่อนเวลานัดออกไป เพื่อว่าผู้รับนัดจะได้จัดเวลาไปทำอย่างอื่นก่อน ไม่ใช่ปล่อยให้เขานั่งรอ
ในกรณีกลับกัน หากท่านไปยังปลายทางที่นัดพบก่อนเวลา เมื่อถึงเวลานัดหมายแล้ว ผู้รับนัดซึ่งอาจเป็นว่าที่ลูกค้ายังไม่มา ท่านก็ควรโทรไปแจ้งให้เขาทราบว่า ขณะนี้ท่านได้มาถึงที่นัดหมายเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้เขารับทราบ เขาจะได้รับรู้ว่าท่านมาตรงเวลา และ หากเขาติดงานสำคัญจึงมาสาย ท่านก็จะได้รู้และหากิจกรรมอื่นทำไปก่อนระหว่างรอ ไม่รู้สึกหงุดหงิด เพราะความหงุดหงิด มักเกิดจากการรอคอยโดยไร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่การรอคอยจะสิ้นสุดลง จะไปทำอย่างอื่นก่อนก็ไม่ได้ หากเกิดผู้รับนัดมาจะไม่พบ เมื่อหงุดหงิดมากขึ้น พอพบกัน การคุยธุรกิจด้วยอารมณ์ที่ขุ่นมัวก็มักไม่ราบรื่น และอาจสูญเสียธุรกิจไปได้
การจัดการกับการนัดหมายอย่างเหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจเช่นกัน เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่านรู้สึกได้ถึงความเป็นมืออาชีพ และ เกิดความประทับใจ ใช้บริการหรือเป็นลูกค้าประจำ แนะนำบอกต่อคนอื่นๆ ด้วยความรู้สึกว่า ท่านเป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีวินัย และ ตรงต่อเวลา อันจะทำให้ธุรกิจของท่านเติบโตต่อๆไปอย่างยั่งยืน
ป้ายกำกับ:
นักธุรกิจต้องรู้...จึงจะรวย
วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
CSR (Corporate Social Responsibility) จิตสำนึกแห่งคุณธรรม
ในยุคปัจจุบันนี้ การประกอบธุรกิจ ต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยทางสังคม และ สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น หาไม่แล้วธุรกิจก็จะไม่ยั่งยืน เช่น หากธุรกิจไปก่อตั้งในพื้นที่โดยไม่สนใจคนในพื้นที่ อาจทำให้ถูกต่อต้าน เกิดอุปสรรค์ในการดำเนินธุรกิจ หากธุรกิจไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ก่อปัญหามลภาวะ ก็จะถูกต่อต้านทั้งคนในพื้นที่ และ กฎหมาย
ถึงแม้ธุรกิจหลายธุรกิจที่ไม่สร้างปัญหาให้สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ก็ยังไม่เพียงพอในยุคปัจจุบัน เพราะสิ่งแวดล้อมโดยรวมแย่ลงทุกวันจากการประกอบการตามปกติ สังคมมีปัญหาจากการแก่งแย่งโดยธรรมชาติ ธุรกิจที่ดีจึงควรช่วยพัฒนาสัมคม และ สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย จึงจะเรียกได้ว่า ธุรกิจที่มีคุณธรรม
คำว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม” นั้น ต้องใช้งบประมาณ ต้องใช้บุคลากร ต้องใช้เวลา แต่ผลตอบแทนอาจไม่ชัดเจนและอาจไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขกำไรขาดทุนได้ จึงทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจไม่ให้ความสนใจ และ หลายคนมองไปว่าต้องรอให้ธุรกิจตั้งตัวได้มีกำไรงาม แล้วค่อยมาสนใจสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งความคิดดังกล่าวนั้น ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะแท้จริงแล้ว ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ
ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น คนที่จะเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว ก็เริ่มแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการใช้หม้อต้มที่ไม่ได้เชื่อมด้วยตะกั่ว เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับสารตะกั่วจากการกินก๋วยเตี๋ยว อีกทั้งยังไม่ใช้ถั่วลิสงที่เก็บค้างไว้นานหลายวัน เพราะจะมีเชื้อราอัลฟาทอกซิน ก่อให้เกิดมะเร็งในคนได้ เป็นต้น สำนึกในคุณธรรม พื้นฐานนี้เองที่ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมในเบื้องต้น
มีร้านอาหารแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ชื่อร้าน “รสทิพย์” อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เจ้าของร้านเป็นคนมีคุณธรรม ชอบเข้าวัดทำบุญเป็นประจำ เมื่อมาประกอบธุรกิจร้านอาหาร ท่านก็ใช้ความดีมาทำธุรกิจ โดยอาหารทุกชนิดในร้านจะไม่ใส่ผงชูรส เพราะเจ้าของร้านเชื่อว่า ผงชูรส อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อีกทั้งหากมีฝีมือทำอาหารจริง ไม่ต้องใส่ผงชูรสก็สามารถปรุงให้อร่อยได้ โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง สด สะอาด และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เท่าที่ผมได้กิน อาหารทุกรายการที่สั่งมีรสชาติอร่อยมาก จนผมติดใจกลายเป็นลูกค้าประจำ แวะมาทาน สั่งซื้อไปทานที่บ้าน เป็นประจำ อีกทั้งผมยังบอกต่อกับคนใกล้ชิด ถึงคุณภาพและความอร่อยของอาหารที่ร้านนี้อยู่เสมอ
การใส่ในต่อผู้บริโภคอย่างยิ่งนี้เอง ที่ก่อให้เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นจากผู้บริโภค และเกิดลูกค้าประจำ อีกทั้งลูกค้าประจำยังช่วยบอกต่อ หาลูกค้ารายใหม่มาให้โดยไม่คิดค่าคอมมิชชั่นอีกด้วย ธุรกิจก็จะยั่งยืนอันเกิดจากสำนึกด้านคุณธรรม ที่เจ้าของร้านมีต่อลูกค้านี่เอง
ผมยังมีโอกาสรู้จักธุรกิจเล็กๆที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ก็คือ บริษัทรับซักผ้าจากโรงพยาบาล เจ้าของกิจการได้ตั้งบริการรับซักผ้าที่ส่งมาจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งกิจการก็ตั้งอยู่เชิงเขา ห่างไกลตัวเมือง หากจะไม่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม น้ำทิ้งที่เกิดจากการซักผ้า ก็สามารถปล่อยทิ้งสู่ที่รกร้าง หรือ ตามป่าเขาได้ โดยไม่ต้องบำบัดอะไรมากนัก แต่ที่นี่กลับลงทุนเพิ่มในการสร้างระบบบำบัดน้ำทิ้งจากการซักผ้า ผ่านขั้นตอนทุกอย่างตามมาตรฐาน จนน้ำสุดท้ายสะอาดเพียงพอที่ จะเลี้ยงปลาได้ จึงปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปเห็นด้วยตาตนเอง จึงรู้สึกได้ถึงความตั้งใจอันดีงามของเจ้าของกิจการ
ตัวอย่างเล็กๆข้างต้นคงจะพอทำให้ทุกท่านเข้าใจได้ถึงคำที่ชาวต่างชาติบัญญัติศัพท์ขึ้นอย่างสวยหรู ว่า “CSR: Corporate Social Responsibility” แล้วเราก็พึ่งจะตื่นเต้นรับเอาแนวคิดนี้มาทำกันใหญ่ บางแห่งทำกันเพียงเพื่อได้ชื่อว่าทำ คือ ทำเพียง 1-2 โครงการแล้วเลิก ขาดความต่อเนื่อง บางแห่ง ลงทุนด้าน CSR ไม่กี่แสนบาท แต่เอางบนับล้านบาทไปลงโฆษณาตัวเองว่าช่วยสังคมสิ่งแวดล้อมแล้วนะทุกท่านโปรดทราบ เพื่อหวังได้หน้าได้ตาหวังผลทางการตลาดเป็นหลัก แต่ก็เอาเถอะ ไม่ว่าจะทำด้วยเหตุผลข้อใด ก็ขอให้เริ่มต้นทำก็แล้วกัน ยังดีกว่า อีกหลายกิจการที่ไม่คิดแม้แต่จะทำ จึงขอชื่นชมยินดีในทุกความพยายามเพื่อให้สังคม และ สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ไม่ว่าชาวต่างชาติจะบัญญัติศัพท์ว่าอะไรก็ตาม ผมก็ขอเรียกว่า “จิตสำนึกแห่งคุณธรรม” ที่หากทุกคนมี สังคม และสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับการดูแลอย่างแน่นอน จากทุกคน ด้วยความเต็มใจ ไม่ว่าจะทำเพื่อความสบายใจ ทำเพื่อให้ได้บุญ ทำเพื่อให้อยู่สบายในสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือ จะทำเพื่ออะไร อะไร ก็ตาม ขอให้ช่วยกันทำเถะครับ เพราะ อานิสงแห่งความดีจะตกแก่ผู้ทำ คนใกล้ชิด สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างแน่นอน และเมื่อทุกๆคนช่วยกัน ประเทศชาติ และ โลกใบนี้ ก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ขอยกย่องทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ที่มี “จิตสำนึกแห่งคุณธรรม”
ถึงแม้ธุรกิจหลายธุรกิจที่ไม่สร้างปัญหาให้สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ก็ยังไม่เพียงพอในยุคปัจจุบัน เพราะสิ่งแวดล้อมโดยรวมแย่ลงทุกวันจากการประกอบการตามปกติ สังคมมีปัญหาจากการแก่งแย่งโดยธรรมชาติ ธุรกิจที่ดีจึงควรช่วยพัฒนาสัมคม และ สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย จึงจะเรียกได้ว่า ธุรกิจที่มีคุณธรรม
คำว่า “ความรับผิดชอบต่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม” นั้น ต้องใช้งบประมาณ ต้องใช้บุคลากร ต้องใช้เวลา แต่ผลตอบแทนอาจไม่ชัดเจนและอาจไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขกำไรขาดทุนได้ จึงทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจไม่ให้ความสนใจ และ หลายคนมองไปว่าต้องรอให้ธุรกิจตั้งตัวได้มีกำไรงาม แล้วค่อยมาสนใจสังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งความคิดดังกล่าวนั้น ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะแท้จริงแล้ว ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ
ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น คนที่จะเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว ก็เริ่มแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการใช้หม้อต้มที่ไม่ได้เชื่อมด้วยตะกั่ว เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับสารตะกั่วจากการกินก๋วยเตี๋ยว อีกทั้งยังไม่ใช้ถั่วลิสงที่เก็บค้างไว้นานหลายวัน เพราะจะมีเชื้อราอัลฟาทอกซิน ก่อให้เกิดมะเร็งในคนได้ เป็นต้น สำนึกในคุณธรรม พื้นฐานนี้เองที่ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมในเบื้องต้น
มีร้านอาหารแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ชื่อร้าน “รสทิพย์” อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เจ้าของร้านเป็นคนมีคุณธรรม ชอบเข้าวัดทำบุญเป็นประจำ เมื่อมาประกอบธุรกิจร้านอาหาร ท่านก็ใช้ความดีมาทำธุรกิจ โดยอาหารทุกชนิดในร้านจะไม่ใส่ผงชูรส เพราะเจ้าของร้านเชื่อว่า ผงชูรส อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค อีกทั้งหากมีฝีมือทำอาหารจริง ไม่ต้องใส่ผงชูรสก็สามารถปรุงให้อร่อยได้ โดยใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง สด สะอาด และก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เท่าที่ผมได้กิน อาหารทุกรายการที่สั่งมีรสชาติอร่อยมาก จนผมติดใจกลายเป็นลูกค้าประจำ แวะมาทาน สั่งซื้อไปทานที่บ้าน เป็นประจำ อีกทั้งผมยังบอกต่อกับคนใกล้ชิด ถึงคุณภาพและความอร่อยของอาหารที่ร้านนี้อยู่เสมอ
การใส่ในต่อผู้บริโภคอย่างยิ่งนี้เอง ที่ก่อให้เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นจากผู้บริโภค และเกิดลูกค้าประจำ อีกทั้งลูกค้าประจำยังช่วยบอกต่อ หาลูกค้ารายใหม่มาให้โดยไม่คิดค่าคอมมิชชั่นอีกด้วย ธุรกิจก็จะยั่งยืนอันเกิดจากสำนึกด้านคุณธรรม ที่เจ้าของร้านมีต่อลูกค้านี่เอง
ผมยังมีโอกาสรู้จักธุรกิจเล็กๆที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ก็คือ บริษัทรับซักผ้าจากโรงพยาบาล เจ้าของกิจการได้ตั้งบริการรับซักผ้าที่ส่งมาจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งกิจการก็ตั้งอยู่เชิงเขา ห่างไกลตัวเมือง หากจะไม่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม น้ำทิ้งที่เกิดจากการซักผ้า ก็สามารถปล่อยทิ้งสู่ที่รกร้าง หรือ ตามป่าเขาได้ โดยไม่ต้องบำบัดอะไรมากนัก แต่ที่นี่กลับลงทุนเพิ่มในการสร้างระบบบำบัดน้ำทิ้งจากการซักผ้า ผ่านขั้นตอนทุกอย่างตามมาตรฐาน จนน้ำสุดท้ายสะอาดเพียงพอที่ จะเลี้ยงปลาได้ จึงปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปเห็นด้วยตาตนเอง จึงรู้สึกได้ถึงความตั้งใจอันดีงามของเจ้าของกิจการ
ตัวอย่างเล็กๆข้างต้นคงจะพอทำให้ทุกท่านเข้าใจได้ถึงคำที่ชาวต่างชาติบัญญัติศัพท์ขึ้นอย่างสวยหรู ว่า “CSR: Corporate Social Responsibility” แล้วเราก็พึ่งจะตื่นเต้นรับเอาแนวคิดนี้มาทำกันใหญ่ บางแห่งทำกันเพียงเพื่อได้ชื่อว่าทำ คือ ทำเพียง 1-2 โครงการแล้วเลิก ขาดความต่อเนื่อง บางแห่ง ลงทุนด้าน CSR ไม่กี่แสนบาท แต่เอางบนับล้านบาทไปลงโฆษณาตัวเองว่าช่วยสังคมสิ่งแวดล้อมแล้วนะทุกท่านโปรดทราบ เพื่อหวังได้หน้าได้ตาหวังผลทางการตลาดเป็นหลัก แต่ก็เอาเถอะ ไม่ว่าจะทำด้วยเหตุผลข้อใด ก็ขอให้เริ่มต้นทำก็แล้วกัน ยังดีกว่า อีกหลายกิจการที่ไม่คิดแม้แต่จะทำ จึงขอชื่นชมยินดีในทุกความพยายามเพื่อให้สังคม และ สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
ไม่ว่าชาวต่างชาติจะบัญญัติศัพท์ว่าอะไรก็ตาม ผมก็ขอเรียกว่า “จิตสำนึกแห่งคุณธรรม” ที่หากทุกคนมี สังคม และสิ่งแวดล้อม ก็จะได้รับการดูแลอย่างแน่นอน จากทุกคน ด้วยความเต็มใจ ไม่ว่าจะทำเพื่อความสบายใจ ทำเพื่อให้ได้บุญ ทำเพื่อให้อยู่สบายในสิ่งแวดล้อมที่ดี หรือ จะทำเพื่ออะไร อะไร ก็ตาม ขอให้ช่วยกันทำเถะครับ เพราะ อานิสงแห่งความดีจะตกแก่ผู้ทำ คนใกล้ชิด สังคม สิ่งแวดล้อม อย่างแน่นอน และเมื่อทุกๆคนช่วยกัน ประเทศชาติ และ โลกใบนี้ ก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ขอยกย่องทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ทุกธุรกิจ ที่มี “จิตสำนึกแห่งคุณธรรม”
ป้ายกำกับ:
นักธุรกิจต้องรู้...จึงจะรวย
วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
การควบคุมการจัดการภายในและข้อควรระวัง
โดย วศ.ทค.มงคล ตันติสุขุมาล (ทนายความ, นักบริหาร, วิทยากร)
เจ้าของกิจการมักเข้าใจว่า เมื่อไม่เคยมีข่าวว่าเงินรายได้ประจำวันหายไป ก็แปลว่าทุกอย่างถูกต้องไม่มีอะไรต้องเป็นห่วง แล้วก็ไม่สนใจสร้างกระบวนการตรวจสอบภายในขึ้นมา อันเป็นการคิดด้านเดียว เพราะวิธีการทุจริตนั้นมีสารพัดวิธีที่ทำให้ตัวเลขในบิลตรงกับจำนวนเงินที่มี แต่เงินได้ถูกยักยอกไปแล้ว ซึ่งผู้เขียนจะขอกล่าวไว้ให้เรียนรู้กันไว้ อีกทั้งแนะแนวทางป้องกัน เพื่อความไม่ประมาทของเจ้าของกิจการ ดังนี้
1. การรับเงินแต่ไม่ออกใบเสร็จ
เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและทำกันแพร่หลายวิธีหนึ่ง คือ เมื่อเจ้าของกิจการไม่ได้อยู่ควบคุมการเก็บเงินด้วยตนเอง มอบหมายให้คนที่ไว้ใจเป็นผู้เก็บเงินให้ พนักงานที่ขายสินค้า สามารถที่จะมีโอกาสที่ลูกค้ามาซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆไม่กี่ชิ้น เป็นเงินไม่กี่บาท และ ไม่ได้เรียกหาใบเสร็จ ก็เป็นโอกาสที่พนักงานเก็บเงินจากลูกค้าเข้ากระเป๋าตนเอง และไม่มีการบันทึกในใบเสร็จ หรือบันทึกการขาย ทำให้เสมือนว่าไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น ครั้นพอมีการเช็คยอดสต็อกรายไตรมาส ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางบัญชี ก็อาจพบว่ามีสินค้าสูญหายไปเล็กน้อยไม่กี่ชิ้น และสรุปไปว่า “เป็นความคลาดเคลื่อนจากการควบคุมสต็อก” และแทงเป็น variance ส่วนต่างจากการนับจำนวนไป ซึ่งปกติแล้วหากผิดพลาดไม่มากเช่น ไม่ถึง 5% ก็มักไม่ใส่ใจ และ คิดว่าคงเป็นการนับผิดตกหล่นเล็กๆน้อยๆ
แต่ผมอยากยกตัวอย่างว่า หากมูลค่าสินค้าขายมีประมาณ 1 ล้านบาท ของไม่ตรงจำนวน 5% คิดเป็นมูลค่า 50,000 บาท เข้าไปแล้ว หากเงินจำนวนดังกล่าวไปอยู่ในกระเป๋าของพนักงาน 1-2 คนที่ทำการทุจริต ก็เสมือนว่ากิจการได้สูญเสียเงินไปปีละ 50,000 บาท ทีเดียว หากเจ้าของกิจการไม่ได้สนใจตรวจสอบติดต่อกันสัก 5 ปี ก็ปาเข้าไป 250,000 บาท เข้าไปแล้ว ไม่น้อยนะครับเงินจำนวนนี้ ยิ่งหากสินค้าคงคลังมีมากกว่านี้ความสูญเสียก็จะมากกว่านี้เป็นเงาตามตัว
ยิ่งหากเจ้าของกิจการมอบหมายให้พนักงานการเงินคนเดิมเป็นผู้ควบคุมการนับสต็อกเองก็ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะตนเองขายของแต่ไม่ออกใบเสร็จเอง แล้วยังควบคุมการนับสต็อกเอง ตบแต่งตัวเลขเสร็จสรรพ ทำให้ตัวเลขสต็อกอยู่ครบก็ยังทำได้ เพราะไม่มีใครมานั่งบวกลบดูรายการรับจ่ายสินค้าที่มีเป็นพันๆบรรทัดหรอกครับ ยิ่งข้ามเดือนข้ามปีเอกสารถูกเก็บเข้ากรุไปแล้วไม่มีใครอยากไปรื้อมาตรวจดูหรอก เป็นอันว่าสินค้าอยู่ครบ แต่เงินเข้ากระเป๋าคนอื่นไปแล้ว
ยิ่งหากเป็นสินค้าที่นับจำนวนได้ยาก เช่น ของเหลว หรือ ร้านอาหารที่การขายต้องมีการตักแบ่ง สับให้เป็นส่วนย่อย ก่อนยื่นให้ลูกค้าแล้วเก็บเงิน ยิ่งควบคุมสต็อกได้ยาก บางคนนำเนื้อหมูเป็นก้อนแอบใส่กระเป๋าถือไปกินที่บ้านเป็นประจำ บางคนพอยื่นของให้ลูกค้าเสร็จแล้วก็เก็บเงินใส่เข้ากระเป๋าตัวเองในเสี้ยววินาทีที่ไม่มีใครสังเกตเห็น และเจ้าของมักสนใจแค่ว่าสิ้นวันมีรายได้ในลิ้นชักเป็นเงินเท่าไหร่ การรั่วไหลก็เกิดขึ้นตรงนี้เอง
วิธีการป้องกัน
• หากเป็นกิจการเล็กๆ เจ้าของกิจการควรเป็นผู้ควบคุมการรับเงินด้วยตนเอง โดยกำหนดว่าไม่ให้พนักงานรับเงินและทอนเงินเอง มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิด
• ถ้าเจ้าของกิจการต้องไปข้างนอก หรือ ไม่ได้อยู่ควบคุม ก็ควรให้ญาติที่ไว้ใจได้ในครอบครับ เช่น สามี ภรรยา แม่ ลูก เป็นผู้ควบคุมการรับจ่ายเงินเอง อย่าให้พนักงานทำโดยลำพัง
• หากเป็นกิจการใหญ่พอควรที่เจ้าของกิจการไม่สามารถนั่งเฝ้าลิ้นชักรับจ่ายเงินได้ ต้องไปติดต่องานข้างนอกเป็นประจำ ก็ควรหาระบบการควบคุมให้รอบคอบเช่น การใช้เครื่องบันทึกการรับจ่ายเงินอัตโนมัติ เพราะเครื่องเหล่านี้จะไม่เปิดลิ้นชักให้หยิบเงินทอนหากไม่มีการบันทึกรายการซื้อก่อน ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าการซื้อที่ต้องทอนเงินนั้นต้องถูกบันทึกเข้าเครื่องแน่ๆ ส่วนการซื้อที่ไม่ต้องทอนเงินนั้นยังต้องควบคุมอีกขั้นหนึ่ง
• ใช้ระบบบาร์โค๊ดบนสินค้า เมื่อลูกค้ามาซื้อสินค้า ผู้ขายต้องอ่านบาร์โค๊ดสินค้ารายการนั้นๆลงเครื่องบันทึก ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องบันทึกชื่อสินค้าผิดพลาด และรายการทุกรายการถูกบันทึกแม้ลูกค้าจะไม่สนใจรับใบเสร็จก็ตาม อีกทั้งโปรแกรม ควบคุมสินค้าคงคลังก็จะทำการตัดสต็อกสินค้ารายการที่ถูกขายไปแล้ว ทำให้สต๊อกสินค้ามีความถูกต้องอยู่ตลอดเวลา
• การติดกล้องวงจรปิด ณ จุดขาย โดยมีการบันทึกภาพตลอดเวลา เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถนำภาพเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้วมาทำการสุ่มตรวจพฤติกรรมการขายสินค้าและเก็บเงินของพนักงานขายได้ อีกทั้งยังเป็นการบันทึกภาพคนร้ายหากมีการลักขโมยหรือจี้ปล้นได้ แต่ควรเป็นกล้องที่มีความละเอียดของภาพสูงจนสามารถระบุรูปร่างหน้าตาคนได้ชัดเจนนะครับ ไม่ใช่เห็นเป็นเพียงเงาตะคลุ่มๆแต่บอกรายละเอียดไม่ได้ก็ไม่มีประโยชน์
• จัดระบบการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าให้เป็นระเบียบ ไม่ใช่กองสุมกันไปเรื่อย หากจัดให้มีระเบียบ มีป้ายกำกับเป็นระบบบาร์โค๊ดยิ่งดี เมื่อสินค้าไม่อยู่ในชั้นวางของก็จะรู้ได้ทันทีว่าขายไปแล้ว หรือ สามารถสุ่มตรวจนับจำนวนสินค้าจริงเปรียบเทียบกับที่บันทึกอยู่ในใบบันทึกสต็อกสินค้าได้ทันทีที่เดินเข้าไปดูสินค้าในคลังสินค้า
• แยกสินค้าที่มีมูลค่าสูง เก็บในพื้นที่พิเศษต่างหาก ซึ่งหากเป็นสินค้าในห้องนี้จะถูกเบิกขายได้ต้องผ่านการอนุมัติโดยผู้จัดการ หรือ เจ้าของโดยตรงเป็นต้น และต้องมีการนับสต็อกสินค้ามูลค่าสูงเหล่านี้บ่อยกว่าสินค้าอื่นๆ เช่น หากสินค้าทั่วไปนับสามเดือนหน สินค้ามูลค่าสูงก็ต้องนับทุกเดือน หากสินค้ามูลค่าสูงมากก็ต้องนับทุกสิ้นวัน เป็นการควบคุมไม่ให้สินค้ามูลค่าสูงสูญหาย หรือ หากสูญหายก็รู้ได้ทันที
• สุ่มตรวจสต็อกสินค้าบางรายการทุกวัน โดยไม่จำเป็นต้องตรวจทุกรายการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน และ มีโอกาสสุ่มตรวจเจอความผิดปกติของสินค้าคงคลังได้แต่เนิ่นๆ จะได้ทำการตรวจให้ละเอียดยิ่งขึ้นต่อไป
2. การให้ส่วนลดพิเศษ
บางกิจการเจ้าของอนุญาตให้มีการขายลดราคาให้ลูกค้าได้บ้างตามความเหมาะสมแล้วแต่การต่อรองของลูกค้า โดยอาจกำหนดว่าให้ลดราคาได้ไม่เกิน 10% จากราคาขายปกติ แล้วให้พนักงานขายหน้าร้านทำตามนโยบายนี้
เมื่อมีการซื้อขายมีลูกค้าหลายรายไม่ได้ต่อราคา หรือ ต่อราคาส่วนลดไม่ถึง 10% พนักงานขายก็จัดการขายให้ลูกค้าเก็บเงินและลูกค้าไม่สนใจรับใบเสร็จรับเงิน พนักงานขายก็ลงบันทึกการขายด้วยโดยบันทึกว่าขายลดราคา เช่น จากราคาปกติ 1,000 บาท ลด 10 % เหลือ 900 บาท จึงลงบันทึกการขายว่าขายได้ 900 บาท แล้วอีก 100 บาทที่เหลือก็นำเข้ากระเป๋าตัวเองเรียบร้อย
เจ้าของกิจการก็เห็นว่ามีการลงบิลครบถ้วนไม่ตกหล่นเพียงแต่ลดราคาให้ 10% ก็ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือ เงินที่เจ้าของควรได้เต็มเน็ดเต็มหน่วยกลับถูกพนักงานเม้มไว้ 10% เรียบร้อยแล้ว หากมียอดขายเดือนละ 1 ล้านบาท มีสัดส่วนลูกค้าที่ไม่ต่อรองราคาประมาณ 50% หรือ 500,000 บาท มีสัดส่วนลูกค้าประมาณ 20% ของรายการขายที่พนักงานลงบันทึกว่าขายลดราคา(ทั้งๆที่ไม่ใช่) ก็เป็นเงินประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี หากทำงานติดกัน 5 ปี เป็นเงินประมาณ 600,000 บาท เป็นรายได้เสริมให้พนักงานทุจริตนะครับท่าน
วิธีการป้องกัน
• การให้ส่วนลดพิเศษกับลูกค้าไม่ควรให้กันพร่ำเพรื่อ เพราะจะทำให้ควบคุมได้ยาก ปกติร้านค้ามักจะให้กับลูกค้าประจำ ลูกค้าที่สมัครเป็นสมาชิกกับร้านแล้ว หรือ ลูกค้าที่ตัดคูปองจากหนังสือหรือจดหมายมาซื้อ ด้วยระบบบัตรสมาชิก หรือคูปอง หากลูกค้ายื่นบัตรส่วนลด ก็กำหนดให้พนักงานขายบันทึกหรืออ่านแถบแม่เหล็กของผู้ซื้อไว้เป็นหลักฐานว่าลูกค้าที่ได้ให้ส่วนลดไปนั้นเป็นใครชื่ออะไร ซึ่งในระบบคอมพิวเตอร์มีฐานข้อมูลอยู่แล้ว ส่วนคูปองที่นำมาซื้อลดราคาก็มักกำหนดให้พนักงานเก็บคูปองนั้นไว้ พร้อมบันทึกชื่อที่อยู่เบอร์โทรของลูกค้าไว้ในคูปองเพื่อเป็นหลักฐาน อีกทั้งข้อมูลลูกค้าที่นำคูปองมายื่นนี้จะทำให้บริษัทได้ฐานข้อมูลผู้ที่เคยเป็นลูกค้าจะได้ส่งจดหมายข่าว หรือ เสนอสินค้าอื่นๆให้ในอนาคต
• ส่วนในธุรกิจเล็กๆ ที่มีคนดูแลไม่กี่คน การควบคุมไม่ให้พนักงานของตนเองที่ขายราคาเต็ม แต่บันทึกรายการว่าขายลดราคา แล้วเก็บเงินส่วนต่างไว้เอง ก็คือ การกำหนดให้พนักงานต้องบันทึกชื่อนามสกุลและเบอร์โทรศัพท์ ของลูกค้าที่ได้ขายลดราคาไว้เป็นหลักฐาน หากไม่บันทึกแล้วให้ส่วนลดจะถือว่ามีความผิดพนักงานต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนลดนั้นเอง เจ้าของกิจการจะได้โทรสุ่มสอบถามในทำนองสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อพนักงานขายแล้วรวดถามว่าได้ซื้อในราคาส่วนลดเท่านั้นเท่านี้ ถูกต้องหรือไม่ หากลูกค้าตอบว่าไม่ใช่ ก็จะรู้ได้ในทันทีว่าพนักงานขายของตนเองโกงเงินเข้าให้แล้ว
3. การจัดซื้อแบบออกบิลเงินสดย่อย
ธุรกิจทุกแห่งมักมีรายการของเล็กๆน้อยๆที่ไม่จำเป็นต้องซื้อจากร้านค้าใหญ่ๆ หรือ ร้านใหญ่ๆไม่มีขาย เพื่อความสะดวกจึงมีวงเงินสดย่อยให้พนักงานจัดซื้อไปทำการซื้อสินค้าเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ด้วยตนเอง ในวงเงินไม่มากนักต่อ 1 บิล เช่น ไม่เกิน 500 บาทต่อใบเสร็จเป็นต้น แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐานการลงบัญชี ซึ่งใบเสร็จรับเงินเหล่านี้ก็มักจะมาในรูปแบบของ “บิลเงินสด” ที่ไม่มีชื่อที่อยู่ของร้าน หรือเป็นเพียงตรายางปั๊มลงไป แล้วใส่จำนวนเงินลงไป ระบุชื่อบริษัทของลูกค้าที่ซื้อเป็นอันเสร็จสรรพ
เมื่อพนักงานซื้อไปซื้อของด้วยวิธีการนี้มา สมมติว่าราคา 400 บาท ก็รวดบอกทางร้านว่าให้เขียนบิลเกินราคาให้เป็น 500 บาท นะ จะนำไปเบิก ร้านก็ทำให้เสร็จสรรพ พนักงานนำบิลมาประกอบการลงบัญชีว่าซื้อ 500 บาท (ทั้งๆที่จ่ายจริงไปเพียง 400 บาท) อีก 100 บาท ที่เหลือก็เข้ากระเป๋าตนเอง บางคนไม่ต้องให้ร้านเขียนบิลให้แต่เขียนเองซะเลย หากกิจการใดมีการเบิกจ่ายด้วยวิธีนี้ประมาณเดือนละ 10,000 บาท ถูกยักยอกไปประมาณ 20% ก็คิดเป็นเงิน 2,000 บาทต่อเดือน หรือ 24,000 บาทต่อปี ไม่น้อยนะครับ
วิธีการป้องกัน
• กำหนดให้พนักงานผู้ที่สามารถซื้อสินค้าด้วยเงินสดย่อยมีเพียงคนเดียวหรือไม่เกินสองคน ทั้งนี้เพื่อให้การตรวจสอบเป็นไปได้ง่ายขึ้น
• กำหนดว่าผู้ที่ไปซื้อสินค้าย่อยและใช้บิลเงินสดย่อย เช่น ร้านถ่ายเอกสาร ร้านขายของชำเล็กๆ หรือ แม้แต่ร้านแบกะดิน หากไม่มีตรายางชื่อที่อยู่เบอร์โทรของร้านปั๊มไว้ ก็จะต้องเขียนระบุในบิลว่าซื้อมาจากที่ใดให้ชัดเจน
• เจ้าของควรลองสุ่มตรวจสอบโดยไปถามดูราคาร้านที่มีอยู่ในใบเสร็จเงินสดย่อยว่าสินค้าที่ร้านขายเท่าไหร่ เป็นราคาเดียวกับที่พนักงานเขียนมาในบิลเงินสดหรือไม่ การสุ่มตรวจอาจไม่พบความผิดปกติในทันที แต่หากทำอยู่เรื่อยๆสม่ำเสมอ เมื่อมีความผิดปกติก็จะตรวจพบได้ก่อน
4. การจัดซื้อมูลค่าไม่สูง
การจัดซื้อของพนักงานจัดซื้อตามปกติก็อาจเป็นช่องทางให้มีการรั่วไหลของเงินได้เช่นเดียวกัน
ปกติเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารบริษัทมักให้ความสำคัญกับการเปรียบเทียบราคาเฉพาะกับการจัดซื้อที่มีมูลค่าต่อครั้งที่ซื้อสูงโดยจะให้มีการขอใบเสนอราคา 3 จ้าวขึ้นไปมาเปรียบเทียบราคากัน โดยไม่ค่อยได้สนใจการจัดซื้อทั่วไปที่มีมูลค่าไม่สูงนัก จึงเป็นช่องทางให้ฝ่ายจัดซื้อมีโอกาสเลือกซื้อจากร้านที่ตนเองมีส่วนเอี่ยวด้วยได้ โดยการบอกให้ร้านดังกล่าวขายเต็มราคา ออกใบเสร็จเต็มราคา แล้วนำส่วนลดเป็นเงินส่วนต่างจ่ายให้ผู้จัดซื้อต่างหาก ส่วนทางร้านที่ขายสินค้าให้ก็ลงบันทึกบัญชีเงินส่วนนี้ว่าเป็น ค่าคอมมิชชั่นในการขาย ซึ่งปกติเป็นของนักขายของบริษัทผู้จัดจำหน่าย ก็ยกให้เป็นของพนักงานจัดซื้อของบริษัทลูกค้าแทน หากการจัดซื้อมูลค่าไม่สูงดังกล่าวเป็นจำนวนเงินเฉลี่ย 1,000 บาทต่อครั้ง เป็นเงินค่าคอมมิชชั่นให้ผู้จัดซื้อ 10% คิดเป็นเงิน 100 บาท มีการจัดซื้อดังกล่าวอยู่รวมเดือนละ 10,000 บาท คิดเป็นเงิน 1,000 บาทต่อเดือน หรือปีละ 12,000 บาท ทีเดียวนะครับ
วิธีการป้องกัน
• กำหนดให้การจัดซื้อที่มีมูลค่าเกิน 500 บาทต่อครั้ง ต้องผ่านการแจ้งให้ผู้จัดการหรือเจ้าของรับทราบก่อน โดยควรมีใบเสนอราคาของร้านค้าแนบมาให้ดูเสมอ หากเป็นร้านเดิมจ้าวประจำ ผู้บริหารก็จะสังเกตเห็นความผิดปกติ โดยอาจทำการสุ่มโทรไปตรวจสอบราคากับจ้าวอื่นๆด้วยตนเอง ก็จะรู้ว่าร้านประจำนั้นราคาเหมาะสมที่จะซื้อจริงหรือไม่ หรือเป็นร้านที่รู้เห็นเป็นใจกับพนักงานจัดซื้อของตนเองทำให้ต้องซื้อสินค้าราคาสูงกว่าที่อื่นๆอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แล้วร้านค้าก็จ่ายเงินส่วนต่างให้กับพนักงานจัดซื้อ หากตรวจพบจะได้เปลี่ยนจ้าวแต่เนิ่นๆ
5. การจัดซื้อมูลค่าสูงที่มีการเปรียบเทียบราคา
การจัดซื้อที่มีมูลค่าสูง โดยมีการกำหนดให้เปรียบเทียบราคาจากผู้เสนอราคาไม่น้อยกว่า 3 รายขึ้นไป ดูผิวเผินเหมือนเป็นการป้องกันการรั่วไหลได้ดีวิธีหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมดครับ เพราะผู้จัดซื้อมีโอกาสที่จะขอราคาจาก 3 รายที่รู้เห็นกันเองอยู่แล้ว คือเป็นพวกเดียวกัน หรือฮั้วกันเอง โดยให้เสนอราคามาในชื่อบริษัทที่แตกต่างกัน 3 แห่ง แต่แท้จริงแล้วเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มเดียวกัน เสนอให้สูงกว่าหรือเท่ากับราคาทั่วไป 2 แห่ง และให้มี 1 รายที่เสนอในราคาต่ำกว่าสองรายแรกเล็กน้อย ถือว่ามีการเปรียบเทียบราคาตามข้อกำหนดของบริษัทเรียบร้อยแล้ว
แม้แต่การที่ผู้เสนอราคาทั้ง 3 รายไม่รู้จักกัน แต่ผู้จัดซื้อนำราคาของ 2 รายแรกไปบอกให้รายที่ 3 รู้ แล้วให้เสนอราคามาต่ำกว่าเล็กน้อย เพื่อให้ได้คำสั่งซื้อ จากนั้นก็ตกลงค่าตอบแทนให้กับผู้จัดซื้อดังกล่าว
จากนั้นก็ทำการสั่งซื้อจากรายที่เสนอราคาต่ำที่สุด แล้วส่วนต่างค่าคอมมิชชั่นที่ควรเป็นของนักขายของบริษัทผู้ขาย ก็กลายเป็นเงินค่าตอบแทนให้ผู้จัดซื้อของบริษัทลูกค้าไปเป็นที่เรียบร้อย
หากมูลค่าของบริษัทกำหนดว่า การจัดซื้อที่เกิน 10,000 บาทขึ้นไปต้องมีการเปรียบเทียบราคาไม่น้อยกว่า 3 ราย แล้วผู้จัดซื้อทำด้วยวิธีการข้างต้น ได้ค่าตอบแทน 10% คือ 1,000 บาท การจัดซื้อมูลค่า 100,000 บาท ก็ได้ค่าตอบแทน 10,000 บาท ทั้งที่เงินจำนวนดังกล่าวควรจะประหยัดให้บริษัทได้
วิธีการป้องกัน
• ในการจัดซื้อของมูลค่าสูงที่ต้องมีการเปรียบเทียบราคา ควรกำหนดให้จะต้องมีอย่างน้อย 1 บริษัท ที่จะได้รับการติดต่อขอใบเสนอราคาโดยผู้บริหารโดยตรง หรือโดยผู้จัดซื้อคนละคนกันกับคนเดิมที่ทำหน้าที่ประจำอยู่ เพื่อให้เป็นราคาที่ไม่ได้ถูกติดต่อโดยผู้จัดซื้อเพียงคนเดียว เมื่อมีผู้เกี่ยวข้องมากกว่า 2 คน การทุจริตจะทำได้ยากขึ้น
• การขอราคาจากบริษัทที่มีผู้บริหารที่รู้จักกันหรือมีสายสัมพันธ์กันมาก่อน เช่น เป็นญาติ เป็นเพื่อน หรือ เป็นคนคุ้นเคยไว้ใจ เป็นเรื่องปกติในการทำธุรกิจ และพนักงานจัดซื้อหรือผู้บริหารมักจะทำอยู่แล้ว เนื่องจากจะได้ต่อรองราคาได้ง่าย เมื่อมีปัญหาก็เรียกหาตัวได้สะดวก แต่ทว่าก็ไม่ควรเป็นเหตุให้ไม่พิจารณาผู้ขายรายอื่นอีกเลย อีกทั้งไม่ควรบอกราคาของคู่แข่งขันให้ทราบเพื่อการแข่งขันราคาที่เป็นธรรม หากราคาแข่งขันได้ บริการดี เงื่อนไขดี ก็ควรซื้อ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องเลือกซื้อจากผู้ขายที่ถูกกว่า ตรงสเปกกว่า เงื่อนไขดีกว่า ถึงแม้จะไม่ใช่คนรู้จักหรือคนสนิทมาก่อนก็ตาม เพราะอย่างน้อยก็ได้เปิดโอกาสให้อย่างยุติธรรมแล้ว
• ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการควรมีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนของบริษัทที่เข้ามาเสนอราคา เพื่อให้รู้จักกันและสอบถามถึงเรื่องบริษัทผู้ขาย เพื่อจะได้รู้ข้อมูลคร่าวๆของบริษัทต่างๆเหล่านั้น หากมีความผิดสังเกต เช่น ตัวแทนบริษัทหนึ่งรู้ข้อมูลของอีกบริษัทหนึ่งอย่างละเอียดจนเกินไป รู้แม้กระทั่งอีกบริษัทหนึ่งเสนอราคาแพงกว่าหรือถูกกว่า แสดงว่าพนักงานจัดซื้อของเราคงทำให้ราคารั่วไหลออกไป ต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากลแน่
ติดต่อฝึกอบรม โดย ทนายมงคล (ทนายความ ,นักบริหาร, วิทยากร) โทร 0817168711
ป้ายกำกับ:
นักธุรกิจต้องรู้...จึงจะรวย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)