วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2562

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 2)

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 2)

โดย มงคล ตันติสุขุมาล
.
การจ้างที่ปรึกษานั้น หากท่านนักธุรกิจจ่ายเงินจ้างเอง มักจะพิจารณาจากความรู้และประสบการณ์อย่างรอบคอบ มีการเจรจาเนื้องานและค่าที่ปรึกษาอย่างเหมาะสมก่อนจะมีการเริ่มทำงาน อีกทั้ง มักจะฟังที่ปรึกษาอย่างตั้งใจ (โดยเฉพาะช่วงแรกๆ) แต่มีประเด็นหรือบางปัญหาที่ควรทราบ คือ

    1. ไม่เห็นคุณค่าของคำปรึกษา ผู้ประกอบการไทย หรือ คนไทย จำนวนมากมักมองไม่เห็นคุณค่าของ “คำปรึกษา” และมักคิดว่า “คำปรึกษา” ควรได้ฟรีๆ  ซึ่งของฟรี คนก็มักไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่แท้จริงแล้วมันเป็นเสมือน “เข็มทิศ” ที่บอกทิศทางที่ควรจะไปให้แก่เจ้าของกิจการ หากที่ปรึกษาปัญหาชีวิตก็เหมือนเข็มทิศที่บอกทิศทางวิธีคิด และการใช้ชีวิตที่ควรจะเป็น ปรากฏการที่คนเข้าวัดตั้งใจฟังธรรมมะก็ต่อเมื่อต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปแล้ว สูญเสียทรัพย์สินไปแล้ว ทำใจไม่ได้อยู่นาน จนเจอคำปรึกษาจากพระธรรมคำสอน จึงค่อยเข้าใจและทำใจได้ จึงเห็นคุณค่าของคำสอนต่อเมื่อได้เจ็บปวดแล้วนั่นเอง เข้าทำนองสโลแกนหนังจีนกำลังภายในที่ว่า “ไม่เห็นโรงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” จึงอยากบอกว่า “คำปรึกษาที่ดี” คือจุดเริ่มต้น และ จุดเปลี่ยน ของทุกสิ่งในแต่ละชีวิตของคน จึงควรรับฟังอย่างตั้งใจ ไตร่ตรอง และมองเห็นคุณค่า
.

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 1)

การใช้ที่ปรึกษา ให้ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง (ตอนที่ 1)

โดย มงคล ตันติสุขุมาล
.
ผมมีโอกาสได้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจให้แก่ SMEs หลายแห่งตามสมควร จากประสบการณ์พบว่า เจ้าของธุรกิจบางท่านมองเห็นค่าของที่ปรึกษาธุรกิจและตั้งใจจ้างที่ปรึกษาให้ไปช่วยเหลือให้คำปรึกษาแนะนำงานแก่ทั้งเจ้าของและพนักงานขององค์กร ในขณะที่เจ้าของธุรกิจบางแห่งใช้แต่ที่ปรึกษาฟรีที่มาจากโครงการของรัฐโดยมีหลายรายมองไม่เห็นคุณค่า เพียงแต่ไม่อยากเสียโอกาสใช้ของฟรีเท่านั้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ในการให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันไป
.
พบว่ากิจการที่ต้องการที่ปรึกษานั้นบางแห่งเกิดจากการที่เจ้าของพยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทางแล้วแต่ไม่ได้ผล จึงอยากให้คนนอกที่มีความรู้มีประสบการณ์เข้ามาช่วยให้คำแนะนำ เหมือนคนป่วยที่พยายามกินยาสมุนไพร ยาหม้อ ยาหมอตี๋ ยาผีบอก มาหลายขนานแล้วแต่ไม่หาย จึงคิดไปถามแพทย์ โดยพบว่าในหลายกรณีก็สายเกินแก้
.